วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
2. ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์
ตอบ
ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1.
ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ
และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ
ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4.
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5.
ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี
ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ
เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8.
ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9.
ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร
ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน
1. ฝึกปฏิบัติวางแผนการประเมินหลักสูตรครอบคลุมกระบวนการหลักสูตรทั้งหมด
ตอบ
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
1.
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
2.
ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน
เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3.
ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ
มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6.
ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7.
ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การจัดหลักสูตร การประเมินหลักสูตร”
ตอบ
ความหมายของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรหมายถึง
กระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประเมินผลของหลักสูตรรวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต
แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3. เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4. เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
ทาบา
(Taba,
1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า
การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ
คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน
ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
การปะเมินหลักสูตร ก่อน ระหว่าง
และหลังการนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
จุดมุ่งหมายการประเมิน
การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินเอกสารและคุณค่าของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
การประเมินการนำไปใช้และผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินระบบหลักสูตร
ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor
and Alexander, 1981 : 265)
ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
4.การประเมินผลการสอบ
5.การประเมินผลโครงการประเมินผล
หลักเกณฑ์การประเมินหลักสูตร
1.
มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
2.
มีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
3.
ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น
ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้
4.
มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน
5.
ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
6.
การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล
จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
7.
การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ
และให้มีความเที่ยงตรงในการพิจารณา
8.
การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆวิธี
9.
มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน
10.
ผลต่างๆที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ
ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
2.
ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล
การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน
เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3.
ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ
มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6.
ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1.
ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด
ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ
และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3.
ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ
ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4.
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5.
ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี
ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6.
ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ
เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8. ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้
ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร
ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ปัญหาในการประเมินหลักสูตร
1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบในการประเมินผล
และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมิน
2. ปัญหาด้านเวลา
การกำหนดเวลาไม่เหมาะสมการประเมินหลักสูตร ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ทำให้ได้ข้อมูลเนิ่นช้าไม่ทันต่อการนำมาปรับปรุงหลักสูตร
3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมินหลักสูตร
คณะกรรมการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน
หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผล ทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ
ขาดความละเอียดรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงปัญหาของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น
4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล
ข้อมูลที่ไม่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมิน
จึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงหรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี
จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
5. ปัญหาด้านวิธีการประเมิน
การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากการประเมินในเชิงปริมาณ
ทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผินไม่ลึกซึ้ง
จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน
เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์และมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินงานน้อยมาก ส่วนมากมักจะประเมินผลเฉพาะด้าน
เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านวิชาการ (Academic
Achievement) เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
7. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
8. ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ
และไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างจริงจัง
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร
เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ
แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น
หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ
นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร
การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้
และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้
นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ
ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย
และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย
และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง
ทำให้การให้ความหมายของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันออกไป
นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือให้คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้
ดังนี้
โบแชมป์
(Beauchamp,1975:164)ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้
หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด
คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120)กล่าวว่า
การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา
(Chandra,
1977:1)
ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน
เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน
โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์
(Beauchamp,
1975: 169) กล่าวว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือ
การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
1.
ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร
2.
ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จได้
ผู้นำที่สำคัญที่จะรับผิดชอบได้ดี คือครูใหญ่
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4.
คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น
ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ
ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ : บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 2552
ตอบ 1.
หลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาเป็นชุมชนของการแสวงหาความรู้
สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง คือ หลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย
การเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่นๆ
ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้
ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม เป็นรายปีหรือรายภาค
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียน และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการจัดหลักสูตร
สถานศึกษา
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน
ท้องถิ่น วัด และหน่วยงานและสถานศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ในท้องถิ่น
เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรสองประการ
ซึ่งจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ให้แนวทางที่สำคัญ
ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้นๆ ดังนี้
2.1 หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เด็กเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้าง
กำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด
มีความรู้สูงสุดสำหรับผู้เรียนทุกคน ควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจ
และประสบการณ์ให้ผู้เรียน และพัฒนาความมั่นใจ ให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน
ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น
ได้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น
และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
2.2
หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรม
และโดยเฉพาะพัฒนา หลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด
เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ว่ามีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม
หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้เป็น
พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เป็นธรรมขึ้นมีความเสมอภาค
ควรพัฒนา ความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งใน ระดับส่วนตนระดับท้องถิ่น
ระดับชาติและระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมใน
การเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล และเป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบ
3. การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ
และเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา
ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน
เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ถ้าหลักสูตรมีการปรับปรุง ให้เป็นไปตามความต้องการและ ความจำเป็นตลอดเวลา
สถานศึกษาควรดำเนินการจัดทำหลักสูตร ดังนี้
3.1 กำหนดวิสัยทัศน์
สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า
โลกและสังคมรอบๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และสถานศึกษาจะต้องปรับตัว
ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์
ซึ่งทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้เรียน
ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา
แสดงความประสงค์อันสูงส่งหรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษา
เป็นสถาบันพัฒนาผู้เรียน
ที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญๆ ของสถานศึกษา
พร้อมด้วย เป้าหมาย มาตรฐาน แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ และการติดตามผล
ตลอดจนจัดทำรายงาน แจ้งสาธารณชน และส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษาเพื่อการปฏิบัติงาน
ที่เหมาะสมตามหลักสูตรของสถานศึกษา และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์
โดยอาศัยบุคคลต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมนี้ เป็นกระบวนการที่มีพลังผลักดันให้แผนกลยุทธ์ที่สถานศึกษาสร้างขึ้นดำเนินไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีทิศทาง ก่อให้เกิดเจตคติในทางที่สร้างสรรค์ดีงามแก่สังคมของ
สถานศึกษา มีระบบและหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างเป็นเครือข่าย
เพียบพร้อม เช่น ระบบคุณภาพ ระบบหลักสูตร สาระการเรียนรู้ การเรียนการสอน
สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การติดตาม การรายงาน ฐานข้อมูลการเรียนรู้
การวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีระบบสนับสนุน ครูอาจารย์ เป็นต้น
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การกำหนดสาระ การเรียนรู้หรือหัวข้อเรื่อง ในท้องถิ่นสนองตอบความต้องการของชุมชน
3.2 การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
และมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำสาระ
การเรียนรู้จากช่วงชั้น ให้เป็นรายปีหรือรายภาค
พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้ครูทุกคน คือ ครูผู้สอน
และครูสนับสนุน ได้นำไปออกแบบการเรียนการสอน การบูรณาการโครงการร่วม เวลาเรียน
การมอบหมายงาน / โครงงาน แฟ้มผลงาน หรือการบ้าน ที่มีการวางแผนร่วมกันทั้ง
สถานศึกษา เป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา
3.3 การกำหนดสาระการเรียนรู้
และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือภาค
สถานศึกษานำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มต่าง
ๆ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ และ กำหนดสาระการเรียนรู้
และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นรายปีหรือรายภาค ทั้งนี้ต้องพยายาม
กำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมาย
และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งการพิจารณา ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมผสานบูรณาการ
จัดเป็นชุดการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่อง หรือจัดเป็นโครงงานได้
3.4 การออกแบบการเรียนการสอน
จากสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รายปีหรือรายภาค สถานศึกษาต้องมอบหมายครูผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการเรียนการสอน
โดยคาดหวังว่า ผู้เรียนควรจะสามารถ ทำอะไรได้ เช่น ช่วงชั้นที่ 1
ซึ่งมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 นั้น
ผู้เรียนจะเรียนรู้สาระเรื่องที่กำหนดได้ในระดับใด ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์
ที่มีสาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินการ และมีมาตรฐาน ค 1.1 :
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะสามารถ ทำอะไรได้ เช่น ในช่วงชั้นที่ 1
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ ข้อหนึ่งว่า
มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์
และผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะมี ความสามารถอย่างไร เช่น ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1สามารถนับได้ 1 ถึง 100 และมากกว่า เป็นต้น
และออกแบบการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนพัฒนาได้ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ
และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์และสังคม
3.5 การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
ใน การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี นั้น
สถานศึกษาต้องตระหนักถึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข การคิดวิเคราะห์
และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือ
สังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่น
บูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่างๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล
ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียน สำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปี
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่าน
การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1
ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน
ซึ่งในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลายาวเกินความสนใจของผู้เรียน
นอกจากผู้สอนจะจัดให้เป็นกิจกรรม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น
การเรียนการสอนควรดำเนินไปตามความสนใจของผู้เรียน
ครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 1ควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็ก เล็กอย่างลึกซึ้ง
สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้ผสมกลมกลืนตอบสนองต่อชีวิตที่อยากรู้
อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ แต่ต้องไม่ลืมมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าว
สำหรับผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมาแล้ว
ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อ
เรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อย
ทำให้ผู้เรียนรับผิดชอบไปศึกษา ค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้
เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และนำผลงานมาแสดง ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้
ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน
การเรียนในช่วงชั้นที่ 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ
เป็นการเรียนที่มุ่งพัฒนา ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
สถานศึกษานอกจากจะทบทวนการเรียนรู้ใน กลุ่มสาระต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้
ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องจัดการเรียนแบบบูรณาการเป็น
โครงงานมากขึ้น
เป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคม
นวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่างๆ
แม้การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของ การทำงานได้
และต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะต้องอยู่บนรากฐานของความรู้
สถานศึกษาจึงต้องจัดบรรยากาศให้อยู่ในสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ
์เป็นตัวอย่างแก่สังคม และควรจัดรายวิชาหรือ โครงงานที่สนองความถนัด
ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย
การเรียนในช่วงชั้นที่
4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาต้อง จัดการเรียนรู้
เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในด้านการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ
ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะ
รายวิชาหรือโครงงาน
3.6 แนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ดำเนินไปด้วยดีบรรลุตามที่คาดหวัง จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
3.6.1. การจัดทำสาระของหลักสูตร
1) กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ มาจัดเป็นผลการเรียนรู้การเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
ที่ระบุถึงความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือภาค นั้น
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม
(Honour
Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม
สอดคล้องกับรายวิชาที่จะจัด
2) กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จาก
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ในข้อ
1)
ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
3) กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิต
สำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติมขึ้น
ดังนี้
- ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -
3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1-3 กำหนดสาระ การเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐาน
- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -
6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค และกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสม
สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
ในการกำหนดจำนวนหน่วยกิต
ของสาระการเรียนรู้รายภาค สำหรับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 ใช้เกณฑ์การพิจารณา
ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่นๆ
ใช้เกณฑ์การพิจารณาคือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลา จัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60
ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตาม
ความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
4) จัดทำคำอธิบายรายวิชา
โดยการนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด ตามข้อ 1) 2) และ 3)
มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา
จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ
สำหรับชื่อรายวิชามีแนวทางในการกำหนดดังนี้
ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนชื่อรายวิชาเลือกที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้น
กำหนดได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจน
มีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น
5) จัดทำหน่วยการเรียนรู้
โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
ที่กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อยๆ เพื่อความสะดวก
ในการจัดการเรียนรู้ และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้
แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว
ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผล การเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา
ใน การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะ
เรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้
หรือเป็นการบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ ในแต่ละช่วงชั้น
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
6) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
โดยวิเคราะห์จากคำอธิบาย รายวิชารายปีหรือรายภาคและหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ
กำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอน
3.6.2.
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย
วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1) การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ชมรมวิชาการ
เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
2) จัดกิจกรรมตามความสนใจ
ความถนัดตามธรรมชาติ และความสามารถ ความต้องการ ของผู้เรียนและชุมชน
3)
จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
เป็นต้น
4) จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่างๆ
ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
5)
การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน
3.6.3.
การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชน
กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น
สามารถกำหนดขึ้นได้ตาม ความต้องการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยม ดังกล่าวให้แก่ผู้เรียน
เพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา
ครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
ผู้เรียน โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนา และการส่งต่อ
ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครอง
และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี/รายภาค
ในแต่ละช่วงชั้น
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
เพื่อทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของ ผู้เรียน สถานศึกษาจะได้นำไปกำหนด
แผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด
3.6.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับ ความถนัด ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณา
การใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ
เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนา
การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหา
หรือพัฒนา และการรายงานผลการเรียนรู้ และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)