ภาพแบบจำลอง NPU Model
Need Analysis
การวิเคราะห์ความต้องการ (Need
Analysis) ความต้องการ (Need) คือ
ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่คาดหวังให้เป็นไป เช่น
ความแตกต่างระหว่างผลงานที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำออกมากับมาตรฐานที่กำหนด
ความไม่เหมือนกันของ สิ่งที่บุคคลผู้หนึ่งมีกับสิ่งที่ผู้ต้องการอยากให้มี
การวิเคราะห์ความต้องการจึงเป็นการหาให้พบว่า
กลุ่มบุคคลเป้าหมายปฏิบัติงานได้ต่างกว่าระดับที่องค์การต้องการ (Gap) เพียงใด เป็นการวิเคราะห์ว่าบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษานั้น
ได้ปฏิบัติงานได้ถึงระดับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ทั้งโดยชนิด ปริมาณงาน
คุณภาพของงาน
ความต้องการเหล่านี้สามารถใช้วิธีใดพัฒนาให้ดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่องค์การต้องการ
เช่น ด้วยการฝึกอบรมบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง หรือด้านการพัฒนากระบวนการทำงาน
หรือด้วยการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม หรือด้วยการ พัฒนาทางการบริหารอื่น ๆ สำหรับความต้องการขององค์การที่สามารถตอบสนองได้ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
เรียกว่า ความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) ซึ่งจะได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการ
ความจำเป็นในการฝึกอบรมนี้เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่รวบรวมก็สามารถค้นหาเป้าหมายในการฝึกอบรม
(Instructional Goals) ที่จะสนองความต้องการจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประกอบการกำหนดแผนและหลักสูตรฝึกอบรม
ให้แก่บุคลากรในองค์การที่เกี่ยวข้องต่อไป
Praxis
สมิธ
(Smith,
M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตรมี
4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis
หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
Understanding
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการรู้
(to
know) และการรับรู้ (perception) โดยมีประสาทสัมผัสทั้งห้า
และใจเป็นตัวรู้อารมณ์ และน าไปสู่ความรู้สึกและความเข้าใจ
ดังนั้นการแสดงอาการความเข้าใจโดยการตอบรับด้วยอาการ ผยักหน้า หรือส่งเสียงบอกให้ทราบอย่างใด
อย่างหนึ่ง ครับ คะ โอเค ในภาษาอังกฤษ ก็คือ yes , ok, I see , I get ที่กล่าวมาเป็นการรับรู้และเข้าใจ อาจจะมาจากค าถามว่า รู้เรื่องไหม
เข้าใจไหม รู้หรือเปล่า
ซึ่งบางครั้งมีความหมายไปในทางที่การรู้อย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจก็ได้เช่นรู้แต่ทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้
ดังนั้นความเข้าใจจึงมีหลายระดับ I see อาจเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน
กว่า I get ยังมีความเข้าใจที่น ามาใช้เป็นทางการมากกว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คำว่า comprehension กับคำว่า understandingเป็นค าที่มีความหมายเดียวกันแต่ค
าว่า understand จะใช้ในภาษาพูดมากกว่าcomphehension นั้นเป็นการสร้างความหมาย (construction of meaning) ในแง่นี้การสร้างความหมายของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไปก็คือเข้าใจแตกต่างกันไปด้วยในแต่ละคน
ส่วนคำว่า understanding เป็นความเข้าใจที่ต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ที่มีความหมายไปไกลกว่าสารสนเทศที่ให้มาหรือที่ได้รับมาและความรู้พื้นฐาน
(ความรู้ที่มีอยู่เดิม) ซึ่งน
ามาเป็นหลักฐานในการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าที่จะดึงเอามาจากความจำประจำตัว
Research-Based Learning (RBL)
นิยามของการจัดการศึกษาแบบ
RBL
การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน
การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบRBLเป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ“การวิจัย”
เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ
RBL
หลักการที่1. แนวคิดพื้นฐาน
เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’
หลักการที่2. เป้าหมาย
เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจ า/ท า/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’
หลักการที่3. วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’
การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’
หลักการที่4. บทบาทผู้สอน
เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ
อธิบาย N P U
N
= Planing วางแผนเขียนเป็นปรัชญา / วิสัยทัศน์/พันธกิจ /
จุดหมายของหลักสูตร / ส่วนนี้คือ creativity ที่เป็น planning
P
= Generating ออกแบบและจัดหลักสูตร (design &
organize ) เขียนเป็นสาระในหลักสูตร วิชาบังคับ วิชาเลือก / ความรู้
ทักษะ สมรรถนะ เมื่อจบหลักสูตร / creativity = generating การทำให้หลักสูตรปรากฏ
มีขึ้น / กรณีนี้อาจเขียนเป็น course syllabus
U
= Producing หลักสูตร evaluation
เขียนเป็นระดับคุณภาพตาม
SOLO
Taxonomy / ได้ 1 คะแนนมีความรู้ในเนื้อหา
ขั้นเลียนแบบ
/ ได้ 2 คะแนนมี 1 + มีทักษะจากการใช้ความรู้ฝึกฝน
ขั้นประยุกต์
/ ได้ 3 คะแนน ต้องมี 1 และ 2 ขั้นสร้างสรรค์
การเรียนรู้ศตวรรษที่
21
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st
Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21)
ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ
แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑
ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject
matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ
และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core
Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่
และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary)
หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่
21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global
Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์
ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and
Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
(Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health
Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental
Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
(Productivity)
และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
(Responsibility)
ทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R
x 7C
3R คือ Reading
(อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical
Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity
and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural
Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration,
Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ)
Communications,
Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ
และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing
and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career
and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
โรงเรียนอนุบาลนครหาดใหญ่
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
โรงเรียนได้ยึดจุดหมายหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
(หลักสูตรแกนกลาง) เป็นตัวกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียน
ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย
และมีสุขนิสัยที่ดี
2.
กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตที่ดี และมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม
และมีจิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี
การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
และความเป็นไทย
8.
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10.
มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง
5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ
และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพภายใต้บริบท สังคม–วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่
ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน
เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
เกิดคุณค่าต่อตนเอง และสังคม
หลักการ
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ
ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่
เด็กกับผู้เลี้ยงดู
หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน
อย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
1.
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2.
ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม
และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4.
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และ
มีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว
ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
คุณลักษณะตามวัย
คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ
ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี
เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ
พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือ
และแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัย
ที่สำคัญของเด็กอายุ
3 – 5 ปี มีดังนี้
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย
เด็กอายุ 3 ปี
- กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
- รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
- เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- ใช้กรรไกรมือเดียวได้
เด็กอายุ 4 ปี
- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
- รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
- เดินขึ้น
- ลงบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
- ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
เด็กอายุ 5 ปี
-
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-
รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
- เดินขึ้น –
ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
- ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
- ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น
ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
- ยืดตัว คล่องแคล่ว
2.
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
เด็กอายุ 3
ปี
- แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-
กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
เด็กอายุ 4 ปี
- แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเองและผู้อื่น
- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- ต้องการให้มีคนฟัง
คนสนใจ
เด็กอายุ 5 ปี
- แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
- ชื่นชมความสามารถ
ผลงานของตนเองและผู้อื่น
- ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
- พัฒนาการด้านสังคม
- ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-
เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
- พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้
ทำความเคารพ
- รู้จักขอบคุณ
เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
3. พัฒนาการด้านสังคม
เด็กอายุ 3 ปี
- รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
(เล่นของเล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น)
- เล่นสมมุติได้
- รู้จักรอคอย
เด็กอายุ 4 ปี
- แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
- เล่นร่วมกับคนอื่นได้
- รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
- แบ่งของให้คนอื่น
- เก็บของเล่นเข้าที่ได้
เด็กอายุ 5 ปี
- ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
- เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
- พบผู้ใหญ่
รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
- รู้จักขอบคุณ
เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
4. พัฒนาการด้านวติปัญญา
เด็กอายุ
3 ปี
-
สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
- บอกชื่อของตนเองได้
- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
- สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ
ได้
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- ร้องเพลง ท่องกลอน
คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
- รู้จักใช้คำถาม “อะไร”
-
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ
-
อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ 4 ปี
- จำแนกสิ่งต่างๆ
ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
- บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-
สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
- รู้จักใช้คำถาม ทำไม
เด็กอายุ 5 ปี
- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี
เสียง รส รูปร่างจำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
- บอกชื่อ นามสกุล
และอายุของตนเองได้
-
พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-
สนทนาโต้ตอบ/เล่าเป็นเรื่องราวได้
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
- รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
-
เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
- นับปากเปล่าได้ถึง 20
- นับปากเปล่าได้ถึง 20
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น