2.1
การเตรียมกำลังคน การให้การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกำลังคนในด้านต่างๆ
ให้เพียงพอ พอเหมาะ และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาชีพ
เพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางการศึกษา
และเพื่อลดปัญหาการว่างงานอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
นอกจากนี้การเตรียมกำลังคนให้สนองความต้องการของประเทศนั้นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความ
สามารถที่ต้องการ ซึ่งมีทั้งระดับผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการสาขาต่างๆ
ระดับช่างฝีมือ และระดับกรรมกร
รวมทั้งต้องพิจารณาถึงแนวโน้มความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศชาติในอนาคตด้วย
2.2 การพัฒนาอาชีพ
ประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร
และประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรที่อาศัยอยู่ในชนบท อาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการมีอยู่เพียงชุมชนในเมือง
ปัจจุบันมีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่เข้ามาทำงานอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เกิดชุมชนแออัด ปัญหาครอบครัว เด็กเร่ร่อน เป็นต้น
เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรควรเน้นการส่งเสริมอาชีพส่วนใหญ่ของคนในประเทศ
จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมเป็นการยกระดับรายได้
คนในชนบทให้สูงขึ้น เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
ลดการหลั่งไหลของประชาชนเข้าไปทำงานตามเมืองใหญ่
สิ่งเหล่านั้นเป็นหน้าที่สำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำหลักสูตรอาชีพเพื่อพัฒนาอาชีพให้บรรลุผล
2.3 การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาจากเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ
นักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาข้อแนวโน้มและทิศทางการขยายตัวในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านไหนที่จะได้รับการพัฒนา
หลักสูตรที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมสามารถผลิตผู้จบการศึกษาที่สามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม
เท่าที่ผ่านมาจะเห็นว่าบางครั้งภาคอุตสาหกรรมไม่มีผู้มีความรู้ความสามารถด้านเฉพาะด้านเข้า
ไปรับรองการการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบางครั้งมีการผลิตผู้จบการศึกษากับความต้องการของแรงงานของไทยไม่สมดุลกันทำให้บางครั้งภาคอุสาหกรรมเหล่านั้นอย่างพอเพียง
ฉะนั้นการศึกษาแนวโน้มการขยายตัวทางอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่นักพัฒนาการหลักสูตรจะละเลยเสียมิได้
2.4
การใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์
เพราะฉะนั้นนักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญในเรื่องของทรัพยากรโดยใช้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากร จัดทำหลักสูตรเนื้อหาวิชา กิจกรรมและประสบการณ์ในหลักสูตรที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจครบวงจรอันได้แก่ การผลิต การจำหน่าย การบริโภค
การแลกเปลี่ยนการบริการโดยเน้นการปฏิบัติจริงและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้รู้จักและเข้าใจระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งในจุดนี้นักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญแล้วคิดพัฒนาหลักสูตรเพื่อสนองพระราชดำริดังกล่าว ในอนาคตประชาชนจะเห็นความสำคัญของทรัพยากรและสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์ เกิดรายได้อย่างมีคุณค่า ไม่มีการสูญเสียทางทรัพยากร
ปัญหาความยากจนและการอพยพย้ายถิ่นก็ไม่เกิดขึ้น
2.5 การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของไทย
คุณลักษณะของในบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทยยังขัดแย้งกับความเป็นจริงในระบบเศรษฐกิจ เช่นคนไทยมีรายได้ต่ำแต่ความต้องการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเกิดปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว
หรือเป็นเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเข้ามาสร้างวัฒนธรรมใหม่ในหมู่เยาวชน หรือการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้ด้อยการศึกษาจากบุคคลผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ
ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะของคนไทยในระบบเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนา
การใช้การศึกษาเข้าไปแก้ไขจะเป็นวิธีการสำคัญและให้ผลในระยะยาว เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย ในหลักสูตรจะต้องบรรจุเนื้อหาสาระ
และประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีการปลูกฝังจิตสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน การสร้างค่านิยมในการทำงานร่วมกัน การไม่เอารัดเอาเปรียบกันความขยันหมั่นเพียร การรู้จักอดออม การมีสติรู้คิด การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสร้างเสริมความสามารถในการผลิต การสร้างงานและแนวการประกอบอาชีพ ถ้าหลักสูตรในระดับต่าง ๆ
ได้บรรจุและปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ไว้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามระดับการศึกษาแล้วผู้จบการศึกษาก็จะเป็นบุคคลมีความสามารถพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจภายใต้ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจได้เหมาะสม
2.6
การลงทุนการศึกษา
การจัดการศึกษาในระดับต้องใช้งบประมาณของรัฐโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงงบประมาณเพื่อการศึกษาแหล่งงานที่จะช่วยเหลือรัฐในรูปงบประมาณ
ในการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรควรจัดให้สอดคล้องกับงบประมาณของรัฐ ไม่ว่าในด้านจัดการเรียนการสอน ด้านวัตถุอุปกรณ์
เพื่อให้มีการใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องคำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน
ในด้านกำลังคนปริมาณคน และคุณภาพ เช่น
การพัฒนาหลักสูตรให้เยาวชนมีคาวามสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ การลงทุนด้านอุปกรณ์คือคอมพิวเตอร์ ให้ทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สอนนักเรียน แต่บางโรงเรียนไม่มีไฟฟ้า
หรือบางโรงเรียนยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ การลงทุนในจุดดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า
เฉพาะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงการลงทุนทางการศึกษาด้วยว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือไม่
ในอนาคตมีตัวอย่างในการพัฒนาหลักสูตรที่ทำให้เกิดการสูตรเปล่าทางการศึกษาอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น