วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ

         การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ  เพราะระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนในสังคมนั้น  การพัฒนาหลักสูตรให้ให้เหมาะกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
         2.1 การเตรียมกำลังคน การให้การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกำลังคนในด้านต่างๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางการศึกษา และเพื่อลดปัญหาการว่างงานอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
         นอกจากนี้การเตรียมกำลังคนให้สนองความต้องการของประเทศนั้นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความ สามารถที่ต้องการ  ซึ่งมีทั้งระดับผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการสาขาต่างๆ ระดับช่างฝีมือ  และระดับกรรมกร รวมทั้งต้องพิจารณาถึงแนวโน้มความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศชาติในอนาคตด้วย
         2.2  การพัฒนาอาชีพ  ประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร  และประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรที่อาศัยอยู่ในชนบท   อาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการมีอยู่เพียงชุมชนในเมือง  ปัจจุบันมีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่เข้ามาทำงานอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่  ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา   เช่นสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  เกิดชุมชนแออัด ปัญหาครอบครัว  เด็กเร่ร่อน เป็นต้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรควรเน้นการส่งเสริมอาชีพส่วนใหญ่ของคนในประเทศ  จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น  เพื่อพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมเป็นการยกระดับรายได้ คนในชนบทให้สูงขึ้น เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน  ลดการหลั่งไหลของประชาชนเข้าไปทำงานตามเมืองใหญ่  สิ่งเหล่านั้นเป็นหน้าที่สำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำหลักสูตรอาชีพเพื่อพัฒนาอาชีพให้บรรลุผล
         2.3  การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม   ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาจากเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ นักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาข้อแนวโน้มและทิศทางการขยายตัวในอุตสาหกรรม   อุตสาหกรรมด้านไหนที่จะได้รับการพัฒนา  หลักสูตรที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมสามารถผลิตผู้จบการศึกษาที่สามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม  เท่าที่ผ่านมาจะเห็นว่าบางครั้งภาคอุตสาหกรรมไม่มีผู้มีความรู้ความสามารถด้านเฉพาะด้านเข้า ไปรับรองการการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบางครั้งมีการผลิตผู้จบการศึกษากับความต้องการของแรงงานของไทยไม่สมดุลกันทำให้บางครั้งภาคอุสาหกรรมเหล่านั้นอย่างพอเพียง  ฉะนั้นการศึกษาแนวโน้มการขยายตัวทางอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่นักพัฒนาการหลักสูตรจะละเลยเสียมิได้
         2.4 การใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์  เพราะฉะนั้นนักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญในเรื่องของทรัพยากรโดยใช้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากร  จัดทำหลักสูตรเนื้อหาวิชา  กิจกรรมและประสบการณ์ในหลักสูตรที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจครบวงจรอันได้แก่   การผลิต การจำหน่าย  การบริโภค  การแลกเปลี่ยนการบริการโดยเน้นการปฏิบัติจริงและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้รู้จักและเข้าใจระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งในจุดนี้นักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญแล้วคิดพัฒนาหลักสูตรเพื่อสนองพระราชดำริดังกล่าว  ในอนาคตประชาชนจะเห็นความสำคัญของทรัพยากรและสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์  เกิดรายได้อย่างมีคุณค่า  ไม่มีการสูญเสียทางทรัพยากร ปัญหาความยากจนและการอพยพย้ายถิ่นก็ไม่เกิดขึ้น           
         2.5  การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของไทย  คุณลักษณะของในบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทยยังขัดแย้งกับความเป็นจริงในระบบเศรษฐกิจ  เช่นคนไทยมีรายได้ต่ำแต่ความต้องการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเกิดปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเข้ามาสร้างวัฒนธรรมใหม่ในหมู่เยาวชน  หรือการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้ด้อยการศึกษาจากบุคคลผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะของคนไทยในระบบเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนา  การใช้การศึกษาเข้าไปแก้ไขจะเป็นวิธีการสำคัญและให้ผลในระยะยาว  เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย  ในหลักสูตรจะต้องบรรจุเนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีการปลูกฝังจิตสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน  การสร้างค่านิยมในการทำงานร่วมกัน  การไม่เอารัดเอาเปรียบกันความขยันหมั่นเพียร  การรู้จักอดออม  การมีสติรู้คิด  การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การสร้างเสริมความสามารถในการผลิต  การสร้างงานและแนวการประกอบอาชีพ  ถ้าหลักสูตรในระดับต่าง ๆ ได้บรรจุและปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ไว้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามระดับการศึกษาแล้วผู้จบการศึกษาก็จะเป็นบุคคลมีความสามารถพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจภายใต้ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจได้เหมาะสม
         2.6 การลงทุนการศึกษา  การจัดการศึกษาในระดับต้องใช้งบประมาณของรัฐโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน  การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงงบประมาณเพื่อการศึกษาแหล่งงานที่จะช่วยเหลือรัฐในรูปงบประมาณ  ในการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรควรจัดให้สอดคล้องกับงบประมาณของรัฐ  ไม่ว่าในด้านจัดการเรียนการสอน  ด้านวัตถุอุปกรณ์  เพื่อให้มีการใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และต้องคำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน ในด้านกำลังคนปริมาณคน และคุณภาพ เช่น การพัฒนาหลักสูตรให้เยาวชนมีคาวามสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์  การลงทุนด้านอุปกรณ์คือคอมพิวเตอร์  ให้ทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สอนนักเรียน  แต่บางโรงเรียนไม่มีไฟฟ้า  หรือบางโรงเรียนยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์  การลงทุนในจุดดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เฉพาะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงการลงทุนทางการศึกษาด้วยว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือไม่ ในอนาคตมีตัวอย่างในการพัฒนาหลักสูตรที่ทำให้เกิดการสูตรเปล่าทางการศึกษาอยู่เสมอ


ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

         การศึกษาทำหน้าที่สำคัญคือ อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปในทิศทางที่พึงปรารถนา เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่จะนำไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก และโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ  จึงจะทำให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการสังคมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการใหม่ ผลการวิเคราะห์ออกมาอย่างไรหลักสูตรก็จะเปลี่ยนจุดหมายไปในแนวนั้น สามารถจำแนกข้อมูลให้ชัดเจนได้ดังนี้
         1.1 โครงสร้างของสังคม   โครงสร้างไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม และสังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก สังคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นแต่ถึงอย่างไรก็ตามสังคมส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังมีสภาพเป็นสังคมเกษตรกรรมอยู่ ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นจะต้องศึกษาโครงสร้างของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มโครงสร้างในอนาคตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาจัดหลักสูตรว่า จะจัดหลักสูตรอย่างไรเพื่อยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมตามความจำเป็น
         1.2   ค่านิยมในสังคม   ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆ เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ค่านิยมชนิดไหนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงดำรงไว้หรือค่านิยมชนิดไหนควรสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น ค่านิยมของสังคมไทยเกี่ยวกับความเฉื่อยชา การถือความสัมพันธ์ส่วนตัว การถือประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
         1.3 ธรรมชาติของคนไทยในสังคม ธรรมชาติของคนไทยในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมนั้นๆ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพดังต่อไปนี้
                  1.  ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการและเหตุผล
                  2. ยกย่องบุคคลที่มีความรู้หรือได้รับการศึกษาสูง
                  3. เคารพและคล้อยตามผู้ได้รับวัยวุฒิสูง
                  4. ยกย่องผู้มีเงินและผู้มีอำนาจ
                  5. นิยมการเล่นพรรคเล่นพวก
                  6. มีลักษณะเฉื่อยชาไม่กระตือรือร้น
         ในการพัฒนาหลักสูตร ควรคำนึกถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกของคนในสังคม โดยพิจารณาว่าลักษณะใดควรไม่ควร เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต
         1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา เช่น การตั้งรับตามการเปลี่ยนต่าง ๆ เช่น กระแสการเจริญเติบโตของประเทศทางตะวันตก กระแสวิชาการตะวันตก ความต้องการและปัญหาสังคม จึงทำให้การศึกษาเป็นตัวตาม ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้ต้องวางเป้าหมายให้ดี นักพัฒนาหลักสูตรจึงควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องชี้นำสังคมในอนาคต เช่น แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การศึกษาไทยจะได้มีบทบาททางสังคมอย่างแท้จริง
         1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง การเตรียมพัฒนาทรัพยากรให้มีคุณภาพมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นเรื่องไม่คงที่ เรื่องของประเทศจะส่งผลกระทบการศึกษามีมากมายเช่น การเมือง เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิชาการทั้งนี้ในต่างประเทศจึงตั้งคุณลักษณะของสังคมเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร และคุณลักษณะของประชากรที่มีคุณภาพมีดังนี้
                  1. มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
                  2. มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว
                  3. เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
                  4. มีสติปัญญา
                  5. มีนิสัยรักการทำงาน
                  6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
         หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรก็คือ จะต้องพิจารณาว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไร รูปแบบใดจึงจะทำให้ประชากรมีคุณภาพดี
         1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่จะแสดงให้ทราบว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนในสังคมเดียวกันหรือเป็นคนชาติเดียวกัน  ดังนั้น ศาสนาและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์สำคัญของหลักสูตรก็คือ การทะนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามไว้ การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึกถึงศาสนาและวัฒนธรรมความรู้หลักธรรมศาสนาต่าง ๆ นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ควรจะเป็นหลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ
         ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก  เพราะเป็นหลักสูตรที่ต้องตอบสนองสังคมและพัฒนาไปพร้อมกัน  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรอบคอบจะทำให้เราสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรที่ดีตามลักษณะดังต่อไปนี้
                  1. ตอบสนองความต้องการของสังคม
                  2. สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม
                  3. เน้นในเรื่องรักชาติรักประชาชน
                  4. แก้ปัญหาให้กับสังคมมิใช่สร้างปัญหากับสังคม
                  5. ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น
                  6. สร้างความสำนึกในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                  7. ชี้นำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงประเพณีและค่านิยม
                  8. ต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม
                  9. ปลูกฝังในเรื่องความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ในสังคม
                  10. ให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ในสังคม