นักการศึกษาชาวอเมริกัน ได้กล่าวเน้นความสำคัญของหลักสูตรว่า
“หลักสูตรเสมือนเครื่องนำทางให้เด็กไปสู่จุดมุ่งหมาย หลักสูตรไม่ใช่เป็นแต่เพียงแนวทางการเรียนเท่านั้น
ยังรวบรวมรายการและปัญหาต่าง ๆ ไว้อีกด้วย หลักสูตรไม่ใช่เนื้อหาวิชาแต่เป็นกิจกรรมทั้งหมดที่นำเข้ามาในโรงเรียน”
ในการจัดการศึกษาที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยหลักสูตรเป็นเครื่องมือ
นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้ว
การจัดการศึกษาจะไม่มีวันสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ได้เลย
หลักสูตรจึงเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาทีเดียว ซึ่ง ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 11)
ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าการที่จะทราบว่าการศึกษาในระดับต่าง ๆ
จะดีหรือไม่ดีสามารถดูจากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้น ๆ ของประเทศ เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษา
ของชาติเข้าสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆหลักสูตรจะเป็นเสมือนกับหางเสือที่จะคอยกำหนดทิศทางให้การเรียนการสอนเป็นไป
ตามความมุ่งหมายของการศึกษาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่ง
ครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน
หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา และเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ ถ้าประเทศใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัยและมีประสิทธิภาพคนในประเทศนั้นก็ย่อมมีความรู้
มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
จากความสำคัญของหลักสูตรดังกล่าว พอสรุปได้เป็นข้อๆ
ดังนี้
1.
หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มีคุณภาพ
2. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการจัดการศึกษา
3.
หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การจัดการศึกษา
4.
ในระดับโรงเรียนหลักสูตรจะให้แนวการปฏิบัติแก่ครู
5.
หลักสูตรแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
6.
หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่า
ผู้เรียนและสังคมควรจะได้รับสิ่งใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์แก่เด็กโดยตรง
7. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดว่า
เนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างราบรื่น
เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
8. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดว่า
วิธีการดำเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและผาสุกเป็นอย่างไร
9.
หลักสูตรย่อมทำนายลักษณะของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร
10. หลักสูตรกำหนดแนวทางความรู้
ความสามารถ ความประพฤติ ทักษะและเจตคติของผู้เรียนที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม
และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและชาติบ้านเมือง
อ้างอิง : พิจิตรา ธงพานิช. การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโน้ม. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2556.
อ้างอิง : พิจิตรา ธงพานิช. การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโน้ม. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2556.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น