1. ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม
สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง
ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
2. เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร
เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร
มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
3. ขาดงบประมาณสนับสนุน
เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร
เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
4. การบริหารจัดการ เช่น
ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้
ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา
บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น
ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน
การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล
การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ
ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
2. สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ
เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า
มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล
ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
3. เน้นการบูรณาการ
แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา
การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
4. เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
5. ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง
เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
6. เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
7. เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี
2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว
มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/544605
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น