ความหมายของหลักสูตร
ตามความเชื่อทางการศึกษาและความเข้าใจที่แตกต่างกัน ในส่วนนักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ
ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของหลักสูตรไว้ โดยสรุปดังนี้ (สุเทพ อ่วมเจริญ,
2555 : 2-3)
บอบบิต (Bobbit,
F. 1918) อธิบายคำว่า หลักสูตร
หมายถึง วิถีทางที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่เด็กแต่ละคน จะต้องก้าวผ่าน
เพื่อเติบโตขึ้น นอกจากโรงเรียนแล้ว
ประสบการณ์นอกโรงเรียนก็นับเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
เซเลอร์
อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor, Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม
หลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล
ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
ปริ้น
(Print.M.,
1993:9)
ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
-
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
-
สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/โปรแกรมการศึกษา
- การนำเสนอในรูปเอกสาร
- รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
สมิธ (Smith,M.K.
1996)
“ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฎีและการปฏิบัติหลักสูตร 4 ทิศทาง
ดังนี้
1.
หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.
หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3. หลักสูตรเป็นกระบวนการ
4.
หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง
การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
โอลิว่า (Oliva,
1997) สรุปไว้ว่าหลักสูตร
หมายถึง :
-
สิ่งที่นำมาสอนในโรงเรียน
-
ชุดของวิชา
- เนื้อหาวิชา
- โปรแกรมการเรียนของนักเรียน
-
ชุดของวัสดุ
- ลำดับของรายวิชา
- ชุดของจุดประสงค์การปฏิบัติ
- รายวิชาที่เรียน
- เป็นทุกสิ่งที่ช่วยให้โรงเรียนก้าวหน้าไป
รวมถึงกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน การแนะแนว และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
- ทุก ๆสิ่งที่เป็นแผนงานของบุคลากรในโรงเรียน
- เป็นอนุกรมของประสบการณ์โดยผู้เรียนในโรงเรียน
- ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคนที่เป็นผลจากการศึกษาเล่าเรียน
อ้างอิง : http://noppawansilpakorn.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น