1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า
ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบในการประเมินผล และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมิน
2.
ปัญหาด้านเวลา การกำหนดเวลาไม่เหมาะสมการประเมินหลักสูตรไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ทำให้ได้ข้อมูลเนิ่นช้าไม่ทันต่อการนำมาปรับปรุงหลักสูตร
3.
ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมินหลักสูตร คณะกรรมการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน
หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผล ทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ
ขาดความระเอียดรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงปัญหาของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น
4.
ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล
ข้อมูลที่ไม่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจาก
ผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมิน
จึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงหรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี
จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
5.
ปัญหาด้านวิธีการประเมิน การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากประเมินในเชิงปริมาณทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผินไม่ลึกซึ้ง
จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน
เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์และมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6.
ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินงานน้อยมาก ส่วนมากมักจะประเมินผลเฉพาะด้าน
เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านวิชาการ (Academic
Achievement) เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
7.
ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
8.
ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน
ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ
และไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างจริงจัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น