จากแนวคิดดังกล่าวนักการศึกษาได้พยายามจัดรวบรวมสภาพการณ์ขั้นตอนต่าง
ๆ
จัดเป็นหมวดหมู่หรือกำหนดขอบข่ายให้ชัดเจนขึ้นเพื่อสะดวกในการที่จะดำเนินการประเมินผลนักการศึกษาได้เสนอขอบข่ายของการประเมินผลไว้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp. 1975: 177) ได้กำหนดขอบข่ายการประเมินหลักสูตรไว้ว่าควรประเมิน 4 ด้านคือ
1 .ประเมินผลการใช้หลักสูตร (Evaluation
of Teacher use of the Curriculum)
2. ประเมินผลรูปแบบของหลักสูตร (Evaluation
of the Design)
3. ประเมินผลการเรียนของนักเรียน (Evaluation
of Pupil Outcomes)
4. ประเมินผลระดับหลักสูตร (Evaluation
of Curriculum System)
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
(Saylor
and Alexander, 1981: 265)
ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียนจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอนเพื่อจะดูว่าจุดมุ่งหมายเหล่านั้นเหมาะสมกับตัวผู้เรียนสภาพแวดล้อมหรือไม่มีความเที่ยงตรงและครอบคลุมเพียงใด
2. การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมดเช่นการเตรียมพร้อมของโรงเรียนการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนงบประมาณการเงินการแนะแนวห้องสมุดดูว่าการดำเนินงานโครงการต่าง
ๆ ได้ดำเนินการไปอย่างไรและมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.
การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรมต่าง ๆ
ว่าเหมาะสมเพียงใด
4.
การประเมินผลการสอบเพื่อดูว่าการสอนของครูดำเนินไปโดยยึดตัวหลักสูตรหรือไม่การสอนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามที่ต้องการหรือไม่เพราะผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนคือผลสัมฤทธิ์ในการสอนของครู
5.
การประเมินผลโครงการประเมินผลเพื่อป้องกันการผิดพลาดซึ่งจะทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรผิดพลาดไปด้วย
สุมิตร
คุณานุกร (2520: 198 – 202)
ได้แสดงความคิดเห็นว่าการประเมินผลเพื่อตัดสินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรนั้นควรมีขอบเขตอยู่
4 ประการคือ
1.
การวิเคราะห์ตัวหลักสูตร
2.
การวิเคราะห์กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้
3.
การวิเคราะห์สัมฤทธิ์ผลการเรียนของเด็ก
4.
การวิเคราะห์โครงการประเมินผล
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 195 – 197)
กล่าวว่าในการประเมินหลักสูตรนั้นสิ่งที่ต้องประเมินสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.
การประเมินเอกสารหลักสูตรเป็นการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร
2.
การประเมินการใช้หลักสูตรเป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์จริงเพียงใด
3.
การประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
4.
การประเมินระบบหลักสูตร
สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 141-142)
ได้กำหนดขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
ประเมินหลักสูตรความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
2.
ประเมินโครงการทั้งหมดของโรงเรียน
3.
ประเมินโครงการเฉพาะส่วน
4.
ประเมินการเรียนการสอน
5.
ประเมินโครงการ การประเมินผล
6.
ประเมินโครงการความสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนถึงการสอนด้วย
7.
ประเมินโครงการของผู้เรียนจบออกไปว่าหางานทำได้หรือไม่
จากขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นได้ว่า
การประเมินหลักสูตรนั้นสามารถทำการประเมินได้ในขอบเขตที่แตกต่างกันอาจจะเป็นการประเมินในขอบเขตที่แคบ
เช่น การประเมินจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หรือการประเมินในขอบเขตที่กว้าง เช่น
การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการประเมินหรือสิ่งที่เราต้องการตรวจสอบและระยะของการประเมินดังกล่าวมาแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น