แบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตร
โดยมีองค์ประกอบเริ่มจากการวิเคราะห์ผู้เรียน ซึ่งอยู่ภายใต้บริบทของสังคม
การเมือง ศาสนา การศึกษา วัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปของผู้เรียน
ผู้พัฒนาหรือผู้จัดทำหลักสูตรนั้นๆภายใต้เงื่อนไขและบริบทเหล่านั้น
เพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการเน้นในหลักสูตรคือ
K ( Knowledge ) คือ
ความรู้ที่มีความแตกต่างกันไปตามสาขาวิชาและระดับการศึกษาของผู้เรียน
A
( Attitude ) คือ ความมีทัศนคติหรือเจตคติต่อสิ่งที่เรียน
S
( Skills ) คือ ทักษะต่างๆที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ในขั้นต่อมาคือ
การกำหนดเนื้อหารายละเอียดของหลักสูตร
ซึ่งจะต้องมีเนื้อหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิด KAS หรือพฤติกรรมที่คาดหวัง
ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
จากขั้นที่ 2
เป็นการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่หลักสูตรกำหนดผ่านกระบวนการ Learning
ที่เป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่มีการวัดผล
ประเมินผลควบคุมไว้ ซึ่งการวัดผล ประเมินผล ที่มีทั้งเป็น Formative
Evaluation และ Summative Evaluation ซึ่งในขั้นสุดท้าย
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนา KAS ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น