1. ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
แหล่งการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมกับสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่น
เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพหลักของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
เศรษฐกิจเป็นต้น
2.
ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อ แหล่งการเรียนรู้ที่ดี
ต้องเป็นแหล่งที่เดินทาง ไปมา
และสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า
3.
ความประหยัดและประโยชน์
การใช้แหล่งเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงเวลาและเงินที่ต้องใช้ในการดำเนินการและประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับด้วย
ถ้านำมาใช้แล้วเสียเงินและเวลามากแต่ได้ประโยชน์น้อยก็ไม่สมควรใช้ เช่น
พาไปศึกษาที่ซึ่งห่างไกลจากโรงเรียนมาก ครูและนักเรียนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก
ทำให้นักเรียนเหนื่อยจึงไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
4.
ความเหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ควรเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่สลับซับซ่อนนัก หรือให้ดูโดยรวม ไม่ต้องดูส่วนย่อย ๆ
เช่น พาไปดูโรงงานทอผ้าควรให้ดูเกี่ยวกับ สถานที่ วัตถุดิบ และผลผลิต
ไม่ควรดูกระบวนการผลิต นอกจากนี้ วิทยากรควรใช้ภาษาง่ายๆ
ที่เด็กในวัยนี้เขาใจได้ดี
5.
ความปลอดภัยและความถูกต้อง หมายถึง ความปลอดภัยทั้งในการเดินทาง
ในขณะศึกษาหาความรู้ และในการนำไปใช้ด้วย
ส่วนความถูกต้องนั้น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องถูกต้อง
ตรงตามหลักวิชา
6.ความรู้และประโยชน์ที่หลากหลากหลาย เช่น
พานักเรียนไปดูการทำและจำหน่ายเครื่องจักสาน
นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวัสดุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต
รูปแบบของชิ้นงาน การประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ประโยชน์ในการใช้งาน การจัดจำหน่าย
ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการดัดแปลงวัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ ได้เห็นวิธีการจัดร้าน วิธีการคิดราคาสินค้า
เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งในด้านการทำงาน การประกอบอาชีพในชุมชน การประกอบธุรกิจ การรวมกลุ่ม
ความคิดสร้างสรรค์
และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น