1.
สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
จัดทำระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ทันสมัย สะดวกต่อการค้นหา
2.
ศึกษาหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรต่าง ๆเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหลักสูตร
3.
ประยุกต์ใช้วัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดหลักการหรือความคิดรวบยอดตามหลักสูตรแกนกลาง
ทดลองใช้จนเกิดความมั่นใจแล้วจึงได้นำมาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
4.
ครูและนักเรียนร่วมมือกันเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5.
บันทึกผลการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและรูปภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุง
หรือนำมาใช้ในโอกาสต่อไป
6.
ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา
การเรียนการสอนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของการเรียนการสอนแล้ว ยังเห็นการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น