ความกดดันจากสังคม
เช่น ความจำเป็นในการปรับปรุงสุขภาพกาย อาจจะต้องการปรับปรุงจุดประสงค์ และเนื้อหา
วิธีการและการประเมินผล
ในวิธีการนี้แบบจำลองวงจรรับผิดชอบต่อความจำเป็นและในความเป็นจริงแล้ว
มีข้อโต้แย้งว่าความจำเป็นเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้กระบวนการหลักสูตรทันสมัยอยู่เสมอ
แบบจำลองวงจร
ให้ทัศนะต่อองค์ประกอบของหลักสูตรว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและขึ้นต่อกันและกัน
เพื่อว่าความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบด้วยกันดังที่ปรากฏในแบบจำลอง เชิงเหตุผลที่มีความชัดเจนน้อย
ตัวอย่างนี้อาจจะทำให้ผู้พัฒนาหลักสูตรเห็นความชัดเจนน้อย
ตัวอย่างนี้อาจจะทำให้ผู้พัฒนาหลักสูตรเห็นความชัดเจนมากขึ้น
โดยพิจารณาเนื้อหาจากการแนะนำความคิดสำหรับวิธีการสอน
แบบจำลองวงจรที่จะกล่าวถึงในที่นี้มีเพียงสองแบบย่อย
ๆ คือแบบจำลองของวีลเลอร์และแบบจำลองของนิโคลส์
3.1 แบบจำลองของวีลเลอร์
ในหนังสือของวีลเลอร์ (wheeler)
ชื่อ curriculum process วีลเลอร์ได้อ้างเหตุผลสำหรับผู้พัฒนาหลักสูตรที่จะใช้กระบวนการวงจร
ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันและขั้นต่อกัน ดังภาพ 9.5
วิธีการสร้างหลักสูตรของวีลเลอร์ เหตุผลก็ยังมีความจำเป็นอยู่แต่ละระยะเป็นการพัฒนาที่มีเหตุผลของระยะที่มีมาก่อนหน้านั้น
โดยปกติการทำงานในระยะใดระยะหนึ่งจะเป็นไปไม่ได้จนกระทั่งงานในระยะก่อนหน้านั้นได้เสร็จลงแล้ว
วีลเลอร์ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตกได้พัฒนาและขยายความคิดของไทเลอร์และทาบาโดยแนะนำระยะที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันระยะของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ซึ่งเมื่อพัฒนาอย่างมีเหตุผลและเป็นการชั่วคราวจะให้เกิดหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ
วีลเลอร์ได้รวบรวมองค์ประกอบที่จำเป็นที่กล่าวโดยไทเลอร์และทาบา
และนำเสนอในลักษณะที่แตกต่างออกไป ระยะทั้งห้าที่กล่าวถึงคือ
1.
การเลือกความมุ่งหมายของเป้าประสงค์และจุดประสงค์ (aims goals and
objectives)
2.
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย
เป้าประสงค์และจุดประสงค์ (selection of learning experiences)
3.
การเลือกเนื้อหา การเรียนรู้ โดยอาจจะนำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นที่แน่ใจ
(selection
of content)
4.
การจัดและบูรณาการประสบการณ์การเรียนรู้และเนื้อหาวิชา
โดยอาศัยกระบวนการเรียน การสอน (organization
and integration of learning experience and content)
5.
การประเมินผล (evaluation) ทุกระยะและการประเมินผลการบรรลุเป้าประสงค์
การสนับสนุนที่สำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรของวีลเลอร์
คือ การเน้นวงจรธรรมชาติของกระบวนการหลักสูตร และธรรมชาติของการขึ้นต่อกันและกันขององค์ประกอบหลักสูตรแม้ว่าวีสเลอร์จะยอมรับว่าสิ่งนี้เป็นการให้ทัศนะที่ง่ายขึ้นของกระบวนการหลักสูตร
ไดอาแกรมตามภาพ 9.4 แสดงให้เห็นว่าวิธีการเชิงเหตุผลยังคงปรากฏอยู่
โดยต้องการให้ผู้พัฒนาหลักสูตรดำเนินการขั้นที่ 1-5 ในรูปแบบที่มีขั้นตอน อย่างไรก็ตาม
ภาพประกอบ 17
ชี้ให้เห็นด้วยเหมือนกันว่าขั้นตอนเหล่านี้เป็นวงจรที่ต่อเนื่องซึ่งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา
ในช่วงเวลาของการการเขียนจุดประสงค์
ความคิดในการตัดสินผลที่ได้รับด้วยการเน้นเป้าประสงค์จนเกินควรทำให้เกิดความซับซ้อน
วีลเลอร์ต้องการเขียนให้จุดประสงค์ปลายทางที่เป็นสาเหตุจากจุดประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้
การกระทำดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนมาจากครูผู้สอนหรือจริง ๆ
แล้วจากผู้เขียนเกี่ยวกับหลักสูตรคนอื่น ๆ
แม้กระนั้นก็ตามความเข้าใจในกระบวนการวงจรหลักสูตรของวีลเลอร์ที่เน้นธรรมชาติของความขึ้นต่อกันขององค์ประกอบหลักสูตรก็ยังคงยืนยงอยู่
3.2 แบบจำลองนิวโคลส์
คณะของนิวโคลส์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Developlng a Curriculum : A
Practice Guie²² ได้สร้างวิธีการวงจร ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างย่อ ๆ หนังสือนี้เป็นที่นิยมของครูมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียน
แบบจำลองของนิโคลส์เน้นวิธีการเชิงเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร
โดยเฉาพะอย่างยิ่งความจำเป็นต่อการเปิดหลักสูตรใหม่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยการสนับสนุนว่าควรมีการวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงและนำเข้าสู่เหตุผลและพื้นฐานที่เหมาะสมตามกระบวนการเชิงเหตุผล
นิโคลส์ ได้แก้ไขงานของไทเลอร์ ทาบา
และวีลเลอร์
โดยเน้นวงจรธรรมชาติของกระบวนการหลักสูตร
และความจำเป็นสำหรับขั้นตอนเบื้องต้นคือ การวิเคราะห์
สถานการณ์ (Situational analysis) และยืนยันว่า
ก่อนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ
ในกระบวนการหลักสูตรต้องการพิจารราอย่างจริงจังกับรายละเอียดของบริบทหรือสถานการณ์หลักสูตร
ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการคือ ขั้นตอนเบื้องต้นซึ่งทำให้ผู้พัฒนาหลักสูตรมีความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรที่กำลังสร้างอยู่
ขั้นตอนของการขึ้นต่อกันและกันห้าขั้น
เป็นความจำเป็นในกระบวนการของหลักสูตรที่ต่อเนื่อง มีดังนี้
คือ
1.
การวิเคราะห์สถานการณ์ (situational analysis)
2.
การเลือกจุดประสงค์ (selection of objectives)
3.
การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา (selection and organization of
content)
4.
การเลือกและการจัดการกับวิธีการ (selection and
organization of methods)
5.
การประเมินผล (evaluation)
ระยะของการประเมินสถานการณ์เป็นความจงใจที่จะบีบให้ผู้พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความต้องการจำเป็นของนักเรียน นิโคลส์ได้สนับสนุนการวางแผนหลักสูตรที่อาศัยการวิเคราะห์ทุกด้านด้วยความรู้และความเข้าใจที่ครอบคลุมกว้างขวาง
จุดเด่นของแบบจำลองวงจร
จุดเด่นของแบบจำลองวงจรมาจากเหตุผล โครงสร้างของขั้นตอนการสร้างหลักสูตรเช่น
แบบจำลองที่เน้นบทบาทของความมุ่งหมายเป้าประสงค์และจุดประสงค์ ต้องการให้ผู้พัฒนาหลักสูตรมีมโนทัศน์เกี่ยวกับงานก่อนลงมือปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมความคิด เชิงเหตุผลที่จะทำให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ
ในการใช้การวิเคราะห์สถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้น
แบบจำลองวงจรจะให้ข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้การกำเนิดจุดประสงค์มีประสิทธิภาพ และแม้ว่าวีลเลอร์จะไม่กล่าวถึงการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นพิเศษ
แต่ก็มิได้มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของความมุ่งหมายและเป้าประสงค์
โดยแท้จริงแล้วจุดประสงค์ไม่ได้ออกมาจากสุญญากาศ แต่มาจากข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ
(รวมทั้งสัญชาติญาณด้วย) ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์และช่วยให้ผู้พัฒนาหลักสูตรตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ
วิธีการนี้จัดว่าจำเป็นถ้าครูต้องการที่จะเป็นครูที่มีประสิทธิภาพในการใช้
ธรรมชาติของแบบจำลองวงจรคือ
องค์ประกอบที่หลากหลายของหลักสูตรมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ใหม่ๆ
และผลของปฏิสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงกรณีแวดล้อม
แบบจำลองจะมีความยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันก็จะเกิดขึ้นกับองค์ประกอบย่อยของแบบจำลองเช่น
ถ้าโรงเรียนเปลี่ยนแปลงทันที่ทันใดด้วยการไหลบ่าของนักเรียนกลุ่มใหญ่ ผู้ซึ่งมีความแตกต่างไปจากบรรทัดฐานแล้ว
สถานการณ์ของหลักสูตรที่มีอยู่ต้องเปลี่ยนแปลง แบบจำลองนี้ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงได้
และความต้องการที่แท้จริงคือการทบทวนสถานการณ์ใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนย่อย ๆ ในองค์ประกอบอื่น ๆ ของหลักสูตร
(จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา วิธีการและการประเมิน)
แบบจำลองวงจรมีความยืดหยุ่นในการใช้มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ของโรงเรียนและเหมาะกับการพัฒนาหลักสูตรของครู มีการกำหนดจุกประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาแบบจำลองวงจรให้ขอบเขตที่กว้างในการพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน
จุดด้อยของแบบจำลองวงจร
จุดด้อยของแบบจำลองวงจรเป็นเรื่องที่ยากที่จะกล่าวเพราะว่าวิธีการของกระบวนการหลักสูตรแบบนี้ประสบความสำเร็จโดยผู้พัฒนาหลักสูตร อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้พัฒนาหลักสูตรจะเพิกเฉยต่อแบบจำลองวงจร เพราะว่าเริ่มต้นวิธีการด้วยเหตุผล
แบบจำลองเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ และดำเนินต่อไปจนครบองค์ประกอบของหลักสูตรด้วยความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม
เมื่อวงจรถูกกำหนดขึ้น
เป็นไปได้ว่าต้องกระตุ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงอาจจะเริ่มจากองค์ประกอบใด ๆ
ของหลักสูตร เช่น
เมื่อหลักสูตรของโรงเรียนอยู่ระหว่างดำเนินการ
ความจำเป็นในการปรับปรุงวงจรอาจเริ่มด้วยการปรับปรุงเนื้อหาใหม่
วิธีการที่แตกต่างกันของการสอนและการเรียนรู้มาจากผลของการประเมิน หรือการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เนื่องจากผู้เรียนอย่างไรก็ตามตัวกระตุ้นสำหรับการปรับปรุงได้ริเริ่มขึ้นภายในวงจร
และเป็นความจำเป็นที่จะต้องประเมินรายวิชาอื่นไปอีกในลักษณะของผลกระทบที่มีต่อองค์ประกอบย่อย
จุดด้อยที่สองของแบบจำลองนี้อาจจะเป็น
การใช้เวลาที่มากในการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ให้ดี
ผู้พัฒนาหลักสูตรต้องใช้เทคนิคเป็นอย่างมากในการล้วงลึกข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลามาก
และบ่อยครั้งที่ครูชอบมากกว่าที่จะอาศัยประสบการณ์ของตนเอง
แบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่งของวอคเกอร์และสกิลเบค
แบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (dynamic model) ของวอคเกอร์ และสกิลเบค
(walker and Skibeck)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบจำลองปฏิสัมพันธ์ (interactive
model) มีทางเลือกสำหรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ภาพประกอบ 19
เป็นที่น่าสังเกตว่า
แบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่งเกิดจากวิธีการเชิงพรรณนาหลักสูตร โดยผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของครู และผู้พัฒนาในขณะที่สร้างหลักสูตร ทั้งวอคเกอร์และสกิลเบคได้สนับสนุนว่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแทนจำเป็นพื้นฐาน สำหรับกำหนดทฤษฎี
ผลที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์และพรรณนาจะเป็นพื้นฐานที่ดีของแบบจำลองจุดประสงค์ และแบบจำลองวงจร แต่ไม่ได้เป็นจุดเด่นของแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง นักพัฒนาหลักสูตรหลายคน
ได้ตีความแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่งของกระบวนการหลักสูตรและพบว่า มีแบบที่สำคัญอยู่ 2 แบบคือ
แบบจำลองของวอคเกอร์และแบบจำลองของสกิลเบค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น