จากการพิจารณาผลการวิจัยแสดงหลักฐานว่า ครูมีความเข้าใจกระจ่างเกี่ยวกับหลักสูตรมโนทัศน์และแบบจำลองน้อยมากและจากงานวิจัยของโคเฮนและแฮลิสัน
(Cohen
and Harrison) สรุปว่า
ไม่มีคำนิยามรามของหลักสูตรที่ครูในโรงเรียนของประเทศออสเตรเลียได้มีส่วนร่วมซึ่งครูเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องพอสมควรเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการพัฒนาหลักสูตร
อย่างไรก็ตาม
ความต้องการจำเป็นคือ วิธีการที่ชัดเจน
มีเหตุผล มีข้อกำหนดในการพัฒนาหลักสูตร เช่น
แบบจำลองควรที่จะมีพิสัยที่กว้างในการใช้
ตรงไปตรงมาและมีความซับซ้อนเพียงพอที่จะเตรียมวิธี
การแก้ปัญหาเป็นฐานให้กับการพัฒนาหลักสูตร
พริ้นท์
ได้เสนอสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรด้วยการพัฒนาสิ่งต่อไปนี้
1. หลักสูตรเชิงระบบ
เช่นหลักสูตรของทุกโรงเรียน 2. หลักสูตรเนื้อหาวิชา เช่น
หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับชั้นอนุบาล หลักสูตรคหกรรมสำหรับชั้นมัธยมศึกษา 3.
หลักสูตรโรงเรียน เช่นหลักสูตรสำหรับชั้นประถมศึกษา สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สำหรับวิทยาลัยเทคนิค 4.
หลักสูตรสำหรับโรงเรียนย่อย ๆ (Sub school curricula) เช่น หลักสูตรประถมศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษา และ 5. หลักสูตรโครงการเช่น
โครงการหลักสูตรเกี่ยวกับการศึกษาสิ่งแวดล้อมหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
(เช่นโครงการวิทยาศาสตร์)
ในการพิจารณาข้อกำหนดพื้นฐานของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอน
สามระยะคือ การจัดการ การพัฒนา
และการนำไปใช้
ในการทำความเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้น หรือกล่าวให้ตรงมากขึ้นคือ
อะไรควรจะเกิดขึ้นในการพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองของ พริ้นท์ สนับสนุนว่า
เป็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น
เป็นการอารัมภบท หรือทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ต้องมีการสร้างเอกสารหลักสูตร โครงการหรือพัฒนาวัสดุ อย่างไรและสุดท้าย เอกสาร/วัสดุ จะนำไปประยุกต์และปรับปรุงใช้อย่างไร
จะช่วยให้มองเห็นภาพของสามระยะดังกล่าว โดยเน้นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
ระยะที่หนึ่ง
: การจัดการ
จุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการพัฒนาหลักสูตรใดๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เป็นทางการของหลักสูตร
หรือกล่าวอีกในหนึ่งว่า
ในการเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรต้องมองดูก่อนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา มีภูมิหลังเกี่ยวกับงานและมีแรงขับในความคิดอะไรบ้างคน
กลุ่มนี้อาจเป็นบุคคลากรของโรงเรียนของภาควิชาต่างๆ หรือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของงานหลัก สูตรในขณะนั้น ในบริบทของโรงเรียน กลุ่มจะประกอบด้วย
กลุ่มของครูที่พัฒนาหลักสูตรในวิชาเฉพาะสิ่งสำคัญในระยะนี้คือคำถามที่มีต่อผู้พัฒนาหลักสูตร
และคำตอบต่อคำถามเหล่านี้จะเป็นแนวทางสำหรับความเข้าใจในผลผลิตของหลักสูตรขั้นสุดท้าย
คำถามดังกล่าวคือ 1. ใครเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้
และได้ทำอะไรที่แสดงว่าเป็นตัวแทนในการทำสิ่งนั้น
2. ผู้เกี่ยวข้องนั้นมีแนวความคิดเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างไร 3.
แรงขับหรือพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้พัฒนาหลักสูตรคืออะไรก่อนที่จะตรวจสอบหลักสูตรหรือเริ่มต้นพัฒนา สิ่งสำคัญคือ
ความเข้าใจบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องการสร้างหลักสูตรโดยกลุ่มของครูในโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระจะแตกต่างไปจากการสร้างหลักสูตรโดยครูโรงเรียนรัฐบาลหรือไม่
หลักสูตรที่สร้างโดยสถาบันอุดมศึกษาจะคล้ายคลึงกับหลักสูตรที่สร้างโดยครูหรือไม่และการสร้างหลักสูตรของรัฐจะสะท้อนความต้องการของแต่ละโรงเรียนหรือไม่หรือโดยแท้
จริงแล้วจะคล้ายคลึงกับการพัฒนาหลักสูตรโดยครูโรงเรียนรัฐบาลหรือไม่
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของพริ้นท์
ผลผลิตของหลักสูตร คือ
นักเรียน
โดยพื้นฐานแล้วได้มีการทำตามทิศทางตามที่ผู้ตัดสินใจได้กำหนดไว้หรือไม่ ใครคือผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร และมีความตั้งใจอะไร
มีทิศทางพิเศษอะไรในใจเกี่ยวกับหลักสูตร เช่น หลักสูตรควรเน้นในเรื่องของวิชาการหรือไม่
หรือจะมุ่งที่การพัฒนาทักษะพื้นฐาน
หรือมุ่งส่งเสริมมโนทัศน์ทางบวกภายในตัวของนักเรียน (positive self-concept) ต้องการการตอบคำถามเหล่านี้และคำถามอื่น
ๆ
ที่มีความเหมาะสมเป็นความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับผู้พัฒนาหลักสูตรและสิ่งที่แสดงออกมา ที่แน่ ๆ
คือ ในการเลือก
ผู้พัฒนาหลักสูตรควรจะได้มีความเข้าใจกับองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้
คำถามอีกคำถามหนึ่งที่ต้องแก้ไขเกี่ยวข้องกับการรับรู้หลักสูตรของผู้พัฒนาหลักสูตรซึ่งมีแนวโน้มที่จะมองกระบวนการในห้าทิศทาง ทัศนะนี้มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เขียนในสาขาวิชาหลักสูตร (Eisner, Skilbeck,
McNeil, Tanner and Tanner, Eisner and Vallance) ได้สรุปว่ามีมโนทัศน์ของหลักสูตรจำนวนมากที่แสดงออกมา
ไอสเนอร์ และ วอลแลนซ์ เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบประมวลความความรอบรู้ ในคำถามนี้ได้แนะนำว่ามีห้าหัวข้อในการที่จะปฐมนิเทศเรื่องหลักสูตร
แม้ว่าจะได้รับการโต้แย้งว่ามีเพียงสื่อจากแนคนีล
แต่พริ้นท์ก็ได้เพิ่มเข้าไปเป็นห้าหัวข้อ คือ
1. มโนทัศน์เกี่ยวกับวิชาการในสาขา (academic
disciplines conception)
2. มโนทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ (humanistic
conception)
3.
มโนทัศน์เกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม (social reconstructions
conception)
4.
มโนทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยี (technological conception)
5.
มโนทัศน์ในการเลือก (eclectic conception)
คำถามสุดท้ายเกี่ยวข้องกับพื้นฐานหรือแรงขับ
ซึ่งมีอิทธิพลต่างทิศทางความคิดเกี่ยวกับหลักสูตรของผู้พัฒนาหลักสูตร
พื้นฐานของหลักสูตรเหล่านี้มาจากแหล่งทางปรัชญาทางสังคมและจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้ที่แตกต่างกันต่อบุคคลแต่ละคน และดังนั้นจึงสามารถที่จะยอมรับรูปแบบของหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันได้
ระยะที่สอง : การพัฒนา
ระยะนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มการประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรในขั้นของการสร้างเอกสารหลักสูตร
วัสดุหรือโครงการ ไม่ว่าธรรมชาติของงานพัฒนาหลักสูตรจะอย่างไร
เป็นการรับผิดชอบของกลุ่มการพัฒนาที่จะสร้างผลิตผลที่ใช้ได้ในระยะนี้
กลุ่มการพัฒนาไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มเดียวกันเสมอไป เมื่อไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน
บางทีในระดับที่เป็นเรื่องของระบบ
เป็นความสำคัญที่กลุ่มจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
เพื่อที่จะให้ระยะที่สองประสบกับความสำเร็จผู้พัฒนาจะดำเนินการตามวิธีการแบบจำลองวงจร
หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า
ผู้พัฒนาดำเนินการตามขั้นตอนขององค์ประกอบหลักสูตร
ซึ่งเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์และต่อด้วยความมุ่งหมายวิเคราะห์สถานการณ์อีก
สิ่งที่คณะครูควรจะทำ เช่น
ให้ความสนใจกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นพิเศษสำหรับมัธยมศึกษา หรือชั้นประถมศึกษา โดยจะใช้วิธีแบบวงจร
มีการรับรู้วิธการและมโนทัศน์ของหลักสูตร
ในขั้นนี้คณะครู/กลุ่มครู (ผู้พัฒนา)
จะอยู่ในฐานะที่พร้อมที่จะไปสู่ระยะต่อไปในการสร้างเอกสารหลักสูตร
ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทำให้ครูรู้ถึงความต้องการจำเป็นของนักเรียนและแหล่งต่าง
ๆ ที่มีประโยชน์ที่จะสนองตอบกับความต้องการจำเป็นนั้น ๆ
ของนักเรียนอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเหล่านี้มีผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถที่จะให้ถ้อยคำที่มีความหมายเกี่ยวกับความตั้งใจในการศึกษาหลักสูตร
นั่นคือ ผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถที่กำหนดความมุ่งหมาย
เป้าประสงค์ได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ถ้อยคำกล่าวที่เป็นความมุ่งหมายเป้าประสงค์
และจุดประสงค์เหล่านี้จะเป็นฐานให้ผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถสร้างเนื้อหาวิชาที่เหมาะสม ในทำนองเดียวกัน ก็จะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
เพื่อที่จะได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บรรลุจุดประสงค์
ท้ายที่สุดเป็นการประเมินผลผู้พัฒนาต้องสร้างวิธีการประเมินที่มีประสิทธิภาพเพื่อตัดสินนักเรียนได้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ใด
เมื่อมีการนำเอกสารหลักสูตรไปใช้ สถานการณ์ที่ได้ริเริ่มไว้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดความต้องการในการวิเคราะห์สถานการณ์ใหม่อีกและต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่น
ๆ ขององค์ประกอบขำหลักสูตร
วงจรธรรมชาติของกระบวนการพัฒนาก็เกิดขึ้นลักษณะดังกล่าวเหล่านี้ทำให้รับรู้ได้ว่าในการสร้างเอกสารหลักสูตรวงจรธรรมชาติของกระบวนการพัฒนาก็เกิดขึ้น
ลักษณะดังกล่าวเหล่านี้
ทำให้รับรู้ได้ว่าในการสร้างเอกสารหลักสูตร วัตถุหลักสูตรโครงการหลักสูตรหรืออื่น ๆ
ผู้พัฒนาหลักสูตรใช้วิธีการที่มีเหตุผลและเป็นระบบด้วย
ระยะที่สาม
: การนำไปใช้ ถ้ามีการพิจารณาว่าอะไรได้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการพัฒนาวัตถุทางด้านกายภาพ
(หลักสูตร โครงการ และชุดต่าง ๆ ของวัสดุหลักสูตร) แล้ว
แต่ละบุคคลต่างก็รับรู้กันว่าอะไรได้เกิดขึ้นเมื่อหลักสูตร
โครงการและวัสดุหลักสูตรเหล่านั้นได้รับการนำไปใช้กับนักเรียน
สิ่งเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในระยะที่สาม การนำไปใช้ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสามอย่างคือ
1. การนำหลักสูตรไปใช้ 2. การเฝ้าระวังติดตาม และรับข้อมูลป้อนกลับของหลักสูตร และ
3. จัดเตรียมข้อมูลป้อนกลับให้กลุ่มพัฒนาหลักสูตร
สำหรับเอกสารหลักสูตร
วัสดุหรือโครงการที่จะใช้ในโรงเรียนหรือในระบบโรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ในการทำให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้มีประสิทธิภาพและมีความยุ่งยากสับสนแต่น้อย ต้องมีการสร้างแผนสำหรับการใช้นวัตกรรมหลักสูตร
ถ้าไม่มีก็สามารถจะคาดเดาได้ว่าจะมีการต่อต้านอย่างแข็งแรงขั้นทำให้นวัตกรรมนั้นไม่ได้รับการยอมรับในทำนองเดียวกัน
ไม่เป็นการเพียงพอที่จะสร้างหลักสูตรโดยไม่มีแผนอะไรทั้งสิ้น และคาดหวังว่าโรงเรียนจะไปใช้ ซึ่งพริ้นท์ได้กล่าวว่าการทำเช่นนั้น เป็น “ตำรับแห่งความหายนะ”
ในขั้นตอนแรกของการนำไปใช้ เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีการปรับปรุง เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะต้องเกิด ทำนายไว้ได้ล่วงหน้า
เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างหลักสูตรเพื่อนใช้ในโรงเรียนได้อย่างหลากหลายด้วยที่ไม่ต้องปรับปรุง ระดับของความสำเร็จในการใช้หลักสูตรจะสะท้อนกลับถึงวัดความสามารถและความตั้งใจของผู้พัฒนาที่จะปรับปรุงหลักสูตรนั้นๆ
ในระยะของการเฝ้าระวังติดตาม
การใช้หลักสูตรเหมือนเดิมว่าจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวัดความสำเร็จของกิจกรรมหลักสูตร
นั่นคือ การวิเคราะห์ประสิทธิผลของกิจกรรมหลักสูตรทั้งหมด
ต่อจากนั้นข้อมูลป้อนกลับอาจจะได้รับจากการศึกษาการประเมินผลผลิตนั้นคือ นักเรียนประสบความสำเร็จตามตั้งใจมากน้อยเพียงไร
ดีเพียงไรในขณะที่การใช้หลักสูตรเป็นกิจกรรมในระยะสั้นๆ
แต่ลักษณะที่ได้รับจากการเฝ้าระวังติดตามและข้อมูลป้อนกลับที่ได้ในระยะที่สามดูเหมือนว่าจะได้นานหลายปีเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงได้ตลอดไป
กิจกรรมสุดท้ายในระยะที่สามมีความสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้จากข้อมูลป้อนกลับจากกลุ่มผู้นำหลักสูตร
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้มีสมมติฐานว่ากลุ่มผู้นำหลักสูตรหรือกลุ่มในลักษณะเดียวกันนี้
ยังคงให้ความสะดวกในการเฝ้าระวังติดตามและลบข้อมูลป้อนกลับ สถานศึกษาส่วนใหญ่จะมีการรวมตัวของกลุ่มผู้รับผิดชอบการเงินของหลักสูตร
(เช่น คณะกรรมการหลักสูตร คณะกรรมการศึกษา) ถ้ากลุ่มผู้นำและ/หรือกลุ่มพัฒนาสลายตัวไป
สิ่งที่สัมพันธ์กับข้อมูลป้อนกลับของหลักสูตรควรจะส่งต่อไปยังกลุ่มการบัญชีของหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น