แม้ว่าแบบจำลองนี้จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบที่จำเป็นที่สุด
แต่ก็พร้อมที่จะขยายไปสู่แบบจำลองที่ขยายแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมผนวกเข้าไป และแสดงกระบวนการบางอย่างซึ่งปรับจากแบบจำลองเดิม แบบจำลองโอลิวาที่ขยายแล้วมี 12
องค์ประกอบปรากกฎ ดังภาพ ประกอบ 25
องค์ประกอบสิบสองประการ แบบจำลองที่ปรากฏในภาพที่ 8.14
แสดงความครอบคลุมกว้างเป็นกระบวนการที่เป็นไปทีละขั้นๆ (step-
by-step) ที่นำผู้วางแผนหลักสูตรที่เริ่มจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ของหลักสูตรไปสู่การประเมินผล แต่ล่ะองค์ประกอบ (ออกแบบโดยใช้เลขโรมันจาก l
ถึง xll จะได้รับการพรรณนาและแนะนำให้กับผู้วางแผนหลักสูตรและผู้มีส่วนร่วม
โดยสรุปดังนี้
เราสังเกตพบว่าในแบบจำลองนี้ใช้ทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและวงกลม
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้เป็นตัวเป็นตัวแทนของระยะการวางแผน (Operational
phase) กระบวนการเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบที่ l ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้พัฒนาหลักสูตร
กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาหลังการทางปรัชญาและจิตวิทยาความมุ่งหมายเหล่านี้เชื่อว่าได้มาจากความต้องจากความต้องการจำเป็นของสังคม
และความต้องการจำเป็นเช่นเดียวกับแบบจำลองของนักการศึกษาอื่น ๆ แบบจำลองของโอลิวา
ก็รวมทั้งแผนของการพัฒนาหลักสูตร (องค์ประกอบที่ I-V และองค์ประกอบที่
XII) และการออแบบการเรียนการสอน (องค์ประกอบที่ VI-XI)
ลักษณะสำคัญของแบบจำลองนี้คือ
เส้นของข้อมูลป้อนกลับ (feedback lines) ซึ่งเป็นวงจรย้อนกลับจากการประเมินผลหลักสูตรไปยังเป้าประสงค์ของหลักสูตร
และจากการประเมินผลการเรียนการสอนไปยังเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน
เส้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบของแต่ละวงจรย่อยอย่างต่อเนื่อง
การใช้แบบจำลอง
แบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย ทิศทางแรกแบบจำลองนี้ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์ของโรงเรียน
สาขาวิชาต่างๆ ในแต่ละสาขา เช่น ศิลปะภาษา
ก็จะสามารถพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยแบบจำลองนี้ได้
แผนสำหรับหลักสูตรในสาขาวิชานี้และการออกแบบวิธีการใช้หลักสูตรด้วยการจัดการเรียนการสอน
หรือ แต่ละสาขาวิชาอาจพัฒนาโปรแกรมสหวิทยาการของโรงเรียน
โดยการผสมผสานระหว่างวิชาเฉพาะ เช่น การศึกษาอาชีพ (Career
education) การแนะแนว (guidance) และกิจกรรมพิเศษของชั้นเรียน
ทางที่สอง สาขาวิชาอาจเน้นองค์ประกอบหลักสูตรแบบจำลอง (องค์ประกอบที่ I-V และ XII) เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโปรแกรม
หนทางที่สาม สาขาวิชาอาจเน้นที่องค์ประกอบของการเรียนการสอน (VI-XI)
แบบจำลองย่อยสองแบบ
แบบจำลองทั้งสิบสองระยะที่กล่าวถึงนี้เป็นการบูรนาการผสมผสานแบบจำลองทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตร
กับแบบจำลองทั่วไปสำหรับการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ (I-V
และ XII) ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการพัฒนาหลักสูตรซึ่ง โอลิวา อ้างว่า
เป็นแบบจำลองย่อยของหลักสูตร องค์ประกอบที่ VI-XI ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการเรียน
การสอน
ในการแยกความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรและองค์ประกอบของการเรียน การสอน โอลิวาได้ใช้เส้นประสำหรับแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน
เมื่อไม่มีการแบบจำลองย่อย (sub
model) ของหลักสูตร
ผู้วางแผนหลักสูตรต้องกำหนดในใจว่าภาระงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์
จนกระทั่งได้มีการแปรเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของหลักสูตรออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆสู่การเรียนการสอน
ต่อจากนั้นเมื่อมีการใช้แบบจำลองของการเรียนการสอน
ผู้วางแผนหลักสูตรต้องรับรู้เป้าประสงค์และจุดประสงค์หลักสูตรของโรงเรียนหรือของสาขาวิชาโดยรวม
สำหรับผู้ที่ไม่ชอบขั้นตอนที่เป็นไดอาแกรมตามภาพ
โอลิวาได้จัดเตรียมรายการของขั้นตอนโดยเรียงลำดับดังนี้
1.
ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนโดยทั่ว ๆ ไป
2.
ระบุความต้องการของสังคม
3.
เขียนประพจน์ของปรัชญาและความมุ่งหมายของการศึกษา
4. ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนในโรงเรียน
5.
ระบุความต้องการจำเป็นของชุมชนเฉพาะ
6.
ระบุความต้องการจำเป็นของเนื้อหาวิชา
7.
ระบุเป้าประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
8. ระบุจุดประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
9. จัดหลักสูตรและนำไปใช้
10. ระบุเป้าประสงค์การเรียน
11.
ระบุจุดประสงค์การเรียนนำกลยุทธ์การเรียนการสอน
12.
เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอน
13.
เริ่มต้นเลือกกลยุทธ์การประเมินผล
14.
นำกลยุทธ์การเรียนการสอนไปปฏิบัติ
15.
เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอนขั้นสุดท้าย
16.
ประเมินผลการเรียนการสอนและปรับปรุงขององค์ประกอบของการเรียนการสอน
17.
ประเมินผลหลักสูตรและปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตร
ขั้นที่
1-9 และ 17 ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของหลักสูตร ขั้นที่ 10-16
เป็นแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน
ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่าง ๆ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว
เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่น ๆ
ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์
และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ
การนำไปใช้ และการประเมินผล)
ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการกระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ
(การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่น ๆ)
มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความผิดแผกแตกต่างเล็ก
ๆ น้อย ๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้
ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก “ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม”
ในการพรรณนารายละเอียดทุก ๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด
การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมาก ๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ
ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร
คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ
ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย
และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น
ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้)
ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ว่า
แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ
ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปีและพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือนักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้
เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุงแบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
ก่อนที่จะเลือกแบบจำลองหรือออกแบบจำลองใหม่ผู้วางแผนหลักสูตรอาจจะกำหนดเกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการปรับปรุงหลักสูตร
เป็นที่ยอมรับกันว่า แบบจำลองโดยทั่วไปควรแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการถึงระยะของการวางแผนการนำไปใช้และการประเมินผล
2. ธรรมเนียมการปฏิบัติ
แต่ไม่จำเป็นต้องตายตัว คือมีจุด “เริ่มต้น” และ “จบ”
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
4. ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรและเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
5.
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
6.
มีรูปแบบเป็นวงจรมากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
7. มีเส้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ
8.
มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในจุดใดจุดหนึ่งของวงจร
9. มีความสอดคล้องภายในและมีตรรกะ
10.
มีความเรียบง่ายเพียงพอที่จะเข้าใจได้และทำได้
11.
มีการแสดงองค์ประกอบในรูปของไดอะแกรมหรือแผนภูมิ
เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้
โอลิวาได้ยอมรับว่า
เป็นเกณฑ์ที่มีเหตุผลที่ปฏิบัติตามได้และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทาง
โอลิวาได้เสนอแบบจำลองที่ควบคู่ไปกับข้อแนะนำข้างต้นซึ่งจะทำให้บรรลุความมุ่งหมายสองประการ
คือ
1. เพื่อเสนอแนะระบบที่ผู้วางแผนหลักสูตรประสงค์จะปฏิบัติตาม
2.
เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบงานสำหรับการอธิบายระยะต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ
ของกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรต่าง
ๆ ทั้งแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์
และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์) ของวอคเกอร์และสกิลเบค
ตลอดจนแบบจำลองของนักการศึกษาคนอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
แบบจำลองเหล่านี้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
ในส่วนที่แตกต่างกันคือ บางแบบจำลองมีขั้นตอนละเอียดมากและแต่ละแบบจำลองก็มีขั้นตอนที่เป็นจุดร่วมที่เหมือนกันที่พอจะสรุปเป็นขั้นของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมได้ห้าขั้นตอน
คือ
1.
การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.
การเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
3. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ
4. การประเมินผลหลักสูตร
5.
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น