วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แบบจำลองของไทเลอร์

         ไทเลอร์  (Tyler)  มีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนในการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตร  และใช้ในสังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐาน  โดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ของสังคมความต้องการทางด้านความสงบสุข  กฎเกณฑ์และกฎหมาย  ระเบียบแบบแผน  รูปแบบและความประพฤติของแต่ละครอบครัว  การแต่งกาย  ความประพฤติและการพูดจา  ไทเลอร์ได้กระตุ้นให้คิดถึงบทบาทของนักพัฒนาหลักสูตรในการใช้สิ่งดังกล่าว  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ในเรื่องการประเมินผล  ไทเลอร์ชี้ให้เห็นว่าจะต้องสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่กำหนดไว้  ปรัชญาการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์  คือ  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน  และครูจะกำหนดจุดประสงค์อย่างไรให้สนองความต้องการของบุคคล  ไทเลอร์ได้กล่าวว่า  การพัฒนาหลักสูตรเป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างมีเหตุผลและอย่างมีระบบโดยได้พยายามที่จะอธิบาย  “…..เหตุผลในการมอง  การวิเคราะห์และการตีความหลักสูตร  และโปรแกรมการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา”  ต่อจากนั้นยังได้โต้แย้งอีกด้วยว่าในการพัฒนาหลักสูตรใด ๆ จะต้องตอบคำถาม 4 ประการคือ
         1. ความมุ่งหมายอะไรทางการศึกษาที่โรงเรียนควรจะแสวงหาเพื่อที่จะบรรลุความมุ่งหมายนั้น
         2. ประสบการณ์ทางการศึกษาคืออะไรที่จะสามารถจัดเตรียมไว้เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายเหล่านั้น (กลยุทธ์การเรียนการสอนและเนื้อหาวิชา : Instructional strategies and content)
         3. ประสบการทางการศึกษาเหล่นี้จะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร (การจัดประสบการณ์เรียนรู้: Organizing learning experiences)
         4. เราจะสามารถตัดสินได้อย่างไร ว่าความมุ่งหมายเหล่านั้นได้บรรลุผลแล้ว (การประเมินสถานการณ์และการประเมินผล: Assessment and evaluation)
         ไทเลอร์ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาของการเคลื่อนไหวทางหลักสูตร  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ เป็นที่รู้จักกันดี  ตั้งแต่ปี  ค.ศ.1949  โดยไทเลอร์ได้เขียนหนังสือชื่อ  Basic  Principles  of  Curriculum  and  nstruction  และได้พิมพ์ซ้ำซากถึง  32  ครั้ง  โดยในครั้งล่าสุดพิมพ์เมื่อ  ค.ศ.1974  ไทเลอร์ได้แสวงหาวิธีการที่จำเพาะของนิสัยของผู้พัฒนาหลักสูตรให้มีเหตุผล   มีระบบและวิธีการให้ความหมายให้มากขึ้นเกี่ยวกับภาระงาน  ปัจจุบันนักเขียนทางหลักสูตรจำนวนมากให้ความสนใจน้อยลง  เพราะธรรมชาติที่ไม่ยืดหยุ่นในแบบจำลองจุดประสงค์ของไทเลอร์  อย่างไรก็ตามบางเวลางานของไทเลอร์  ได้รับการตีความผิดๆ  ให้ความสนใจน้อยและบางครั้งเพิกเฉยที่จะให้ความสนใจ  เช่น  บราดี้  (Brady)  อ้างถึงคำถามสี่ประการข้างต้น  และแนะนำว่าขั้นตอนทั้งสี่บางครั้งจำทำให้ดูง่ายขึ้นถ้าอ่านว่า  จุดประสงค์  เนื้อหา วิธีการ และการประเมินผล ไทเลอร์ได้เน้นถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ในคำถามข้อที่สองคือ  “….ปฏิกิริยาระหว่างผู้เรียนและสถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งสามารถกระทำได้” เช่นเดียวกัน  ผู้เขียนตำราบางคนได้แย้งว่า  ไทเลอร์ไม่ได้อธิบายแหล่งที่มาของจุดประสงค์อย่างเพียงพอ  ไทเลอร์ได้อุทิศครึ่งหนึ่งของหนังสือที่เขียนให้กับเรื่องจุดประสงค์โดยได้พรรณนาและวิเคราะห์แหล่งที่มาของจุดประสงค์จากผู้เรียน  การศึกษาชีวิตในปัจจุบันการศึกษาวิชาต่าง ๆ  จากสถานศึกษา  ศึกษาปรัชญาและจิตวิทยาการเรียนรู้อันที่จริงแล้วไทเลอร์  เป็นผู้มีเหตุผลอย่างสำคัญยิ่งต่อผู้พัฒนาหลักสูตรและผู้เขียนวรรณกรรมทางด้านนี้  เมื่อ  30  ปีที่แล้วแบบจำลองกระบวนการหลักสูตรของไทเลอร์ดังภาพประกอบ 13  ซึ่งเป็นไดอาแกรมการแนะนำ  โดยที่ไทเลอร์เห็นว่าภาระงานของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการแก้ปัญหาที่มีเหตุผลและมีขั้นตอนตามคำถามสี่ข้อที่กล่าวแล้ว  เมื่อมีการกำหนดจุดประสงค์  ก็จะสามารถเลือกประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมที่ต้องการ  การจัดการที่มีประสิทธิภาพ  ขั้นสุดท้ายของกระบวนการของไทเลอร์  คือ  การตัดสินว่ามีความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือไม่

         ไทเลอร์กล่าวว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องนิยามความมุ่งหมาย  (จุดประสงค์)  ให้กระจ่างเมื่อมีการพัฒนาหลักสูตร  การกำหนดจุดประสงค์ต้องการความคิดที่รอบคอบและพิจารณาแรงขับหลากหลายที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียน  เช่น  สังคม  รายวิชา  ปรัชญา  และอื่นๆ  ในเวลาเดียวกันจุดประสงค์จะลายเป็นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในการเลือกประสบการณ์ที่เหมาะสมตลอดจนการประเมินผลแต่ละขั้นตอนจะเป็นไปอย่างมีเหตุผล  ขั้นตอนทุกขั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง  ในขั้นของการประเมินผลก็ใช้จุดประสงค์เป็นฐานสำหรับเทคนิคการประเมินที่เหมาะสมที่จะชี้ว่าได้รับความสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างกว้างขวางเพียงใด
         แบบจำลองของไทเลอร์  ให้ความสนใจกับระยะของการวางแผน  และจากเหตุผลข้างต้นทำให้นักการศึกษาทั่วไปเรียกแบบจำลองของไทเลอร์ว่า  “แบบจำลองเชิงเหตุผล  (The Tyler  rationale  model)  ซึ่งเป็นกระบวนกานในการเลือกจุดประสงค์ทางการศึกษาที่เป็นที่รู้จักและถือปฏิบัติในแวดวงของหลักสูตร  และไทเลอร์ได้เสนอแบบจำลองสำหรับการพัฒนาหลักสูตรที่ค่อนข้างจะเป็นที่เข้าใจในส่วนแรกของแบบจำลอง  (การเลือกจุดประสงค์)  ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักการศึกษาอื่น ๆ
         ไทเลอร์ได้แนะนำให้ผู้พัฒนาหลักสูตรระบุจุดประสงค์ทั่วไปโดยรวบรวมข้อมูลจากสามแหล่งคือ  ผู้เรียน  (learners)  ชีวิตภายนอกโรงเรียนในช่วงเวลานั้น (contemparry  life  outside  the  school)  และเนื้อหาวิชา  (subject  matter)  ภายหลังจากที่ได้ระบุจุดประสงค์ทั่วไปแล้ว  ผู้วางแผนหลักสูตรก็กลั่นกรองจุดประสงค์เหล่านั้นผ่านเครื่องกรองสองชนิดคือ  ชนิดแรกเป็นปรัชญาการศึกษาและปรัชญาทางสังคมของโรงเรียน  ชนิดหลังเป็นจิตวิทยาการเรียนรู้  จุดประสงค์ทั่วไปที่ประสบความสำเร็จด้วยการผ่านการกลั่นกรองจากเครื่องกรองทั้งสองชนิดจะกลายเป็นจุดประสงค์การเรียนการสอนที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงขึ้น  ในการพรรณนาจุดประสงค์ทั่วไป  ไทเลอร์จะอ้างถึง  “เป้าประสงค์  (goal)”  จุดประสงค์ทางการศึกษา (educational  objectives)” และ “ความมุ่งหมายทางการศึกษา  (educational  purposes)”
         แหล่งข้อมูลนักเรียน  (Student as source)  ผู้ปฏิบัติงานหลักสูตรเริ่มต้นเสาะหาจุดประสงค์ทางการศึกษาโดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความสนใจของนักเรียน  ความต้องการจำเป็นกว้างๆ โดยส่วนรวมได้แก่  ความต้องการจำเป็นด้านการศึกษา  สังคม  อาชีพ  ร่างกาย  จิตใจ  และนันทนาการ  จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาศึกษา ไทเลอร์เสนอแนะให้ครูเป็นผู้สังเกต  สัมภาษณ์นักเรียน  สัมภาษณ์บิดามารดา  ออกแบบสอบถาม  และใช้การทดสอบเป็นเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน  โดยการตรวจสอบความต้องการจำเป็นและความสนใจของนักเรียน  นักพัฒนาหลักสูตรต้องระบุชุดของจุดประสงค์ที่มีศักยภาพ
         แหล่งข้อมูลทางสังคม  (Society  as  source)  การวิเคราะห์ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันของทั้งชุมชนในท้องถิ่นและสังคม  ส่วนใหญ่จะเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการของของการกำหนดจุดประสงค์ทั่วไป  ไทเลอร์แนะนำว่าผู้วางแผนหลักสูตรควรพัฒนาแผนการจำแนกแบ่งชีวิตออกมาในหลายๆ  ลักษณะ  เช่น  ด้าน  สุขภาพ  ครอบครัว  นันทนาการ  อาชีพ  ศาสนา  การบริโภค  และบทบาทหน้าที่พลเมือง  จากความต้องการของสังคมทำให้เราได้จุดประสงค์เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของสถาบันทางสังคม  หลังจากที่ได้พิจารณาแหล่งข้อมูลที่สองแล้ว  ผู้ปฏิบัติหลักสูตร  (Curriculum  worker)  สามารถที่จะขยายหรือเพิ่มเติมจุดประสงค์ได้
         แหล่งข้อมูลด้านเนื้อหาวิชา (Sujiect matter as source) สำหรับข้อมูลที่สามนักวางแผนหลักสูตรต้องหันกลับไปพิจารณาเนื้อหาวิชา  สาขาวิชาของตัวเอง นวัตกรรมหลักสูตรจำนวนมาก  ในปี  ค.ศ.1950-คณิตศาสตร์แผนใหม่  โปรแกรมวิทยาศาสตร์  ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชา  จากข้อมูลสามแหล่งที่กล่าวถึงนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรก็จะได้จุดประสงค์ทั่วไป  หรือจุดประสงค์กว้างๆ  ซึ่งขาดความชัดเจน  ซึ่งโอลิวา  (Oliva)  มีความชอบมากที่เรียกว่าเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน  (instructional  goals)  เป้าประสงค์เหล่านี้อาจตรงกับสาชาวิชาที่เฉพาะเจาะจง
         จอห์นสัน  (Johnsan)  มองสิ่งเหล่านี้ด้วยสายตาที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ จอห์นสันได้แนะนำว่า “แหล่งที่เป็นไปได้ (ของหลักสูตร) คือวัฒนธรรมทั้งหมดที่มีอยู่เป็นส่วนรวม” และมีแต่เพียงเนื้อหาสาระที่เรียบเรียงไว้อย่างดี นั่นคือ สาขาวิชาเหล่านั้นที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลของหลักสูตรไม่ใช่ความต้องการจำเป็นและความสนใจของผู้เรียนหรือค่านิยมและปัญหาสังคม
         เมื่อมีการกำหนดจุดประสงค์ที่พิจารณาว่าความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้แล้ว จำเป็นต้องมีกระบวนการกลั่นกรองอีกขั้นหนึ่งตามแบบจำลองของไทเลอร์  เพื่อที่จะขจัดจุดประสงค์ที่ไม่มีความสำคัญและขัดแย้งกันออกไปโดยแนะนำให้ใช้ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนเป็นตะแกรงแรกสำหรับกลั่นกรองเป้าประสงค์
         ปรัชญา (Philosophical screen) เหล่านี้ ไทเลอร์แนะนำครูของแต่ละโรงเรียนให้กำหนดปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคมขึ้นมา โดยผลักดันให้ครูวางเค้าโครงค่านิยมและภาระงานนี้ออกมาด้วยการเน้นเป้าประสงค์สี่ประการคือ  
         1. การยอมรับความสำคัญของบุคคลในฐานะทางชาติพันธุ์วรรณาเชื้อชาติสังคมหรือเศรษฐกิจ
         2. โอกาสสำหรับการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในธุรกิจระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคมและในสังคม
         3. การส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่หลากหลายค่อนข้างจะมากกว่าที่ส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
         4. ความศรัทธาในเชาวน์ปัญญาว่าเป็นเสมือนวิธีการในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ค่อนข้างจะมีมากกว่าการขึ้นอยู่กับอำนาจของกลุ่มประชาธิปไตยหรือกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย
         ในคำอภิปรายเกี่ยวกับการกำหนดปรัชญาสังคม  ไทเลอร์พยายามที่จะทำให้โรงเรียนเป็นบุคคลโดยกล่าวว่า  ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคมเป็นข้อผูกพันและต้องการกระทำตาม เมื่อโรงเรียนยอมรับค่านิยมเหล่านี้  หลายโรงเรียนมักจะกล่าวว่า และ  ถ้าโรงเรียนเชื่อ  ดังนั้นไทเลอร์จึงทำให้โรงเรียนมีลักษณะเป็นพลวัตและมีชีวิต (dynamic living entity) ผู้ทำงานเกี่ยวกับหลักสูตร (curriculum  worker) จะทบทวนรายการของจุดประสงค์ทั่วไปและไม่ให้ความสนใจกับจุดประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับปรัชญาที่ได้ตกลงกันไว้กับคณะทำงาน
         จิตวิทยา (Psychological screen) การประยุกต์ใช้จิตวิทยา เป็นขั้นตอนต่อไปของแบบจำลองของไทเลอร์  ในการใช้นี้  ครูต้องทำความกระจ่างกับหลักการเรียนรู้ ซึ่งเชื่อว่าดี   ไทเลอร์กล่าวว่าจิตวิทยาการเรียนรู้ไม่เพียงแต่จะรวมถึงข้อค้นพบที่ชี้เฉพาะและแน่นอนเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ที่ช่วยในการกำหนดเค้าโครง (outline) ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรภายใต้เงื่อนไขอะไร ใช้กลไกอะไรในการปฏิบัติงาน และอื่นๆ ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันการประยุกต์ใช้นี้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการฝึกหัดอย่างเพียงพอในด้านจิตวิทยาการศึกษาความเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ โดยผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาระงานของการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นผู้ดำเนินการฝึกให้ไทเลอร์ได้อธิบายความสำคัญของจิตวิทยาดังนี้
         1. ความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้สามารถทำให้เราแยกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คาดหวังผลออกจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         2. ความรู้ในจิตวิทยาการเรียนรู้สามารถทำให้เราแยกความต่างในเป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ออกจากเป้าประสงค์ที่ต้องการใช้เวลานานหรือเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุผลสำเร็จในระดับอายุที่มีการตรวจสอบและรับรองแล้ว
         3. จิตวิทยาการเรียนรู้ให้ความคิดบางอย่างแก่เรา เกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการบรรลุจุดประสงค์และระดับอายุที่ต้องใช้ความพยายามให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
         หลังจากผู้วางแผนหลักสูตรได้ประยุกต์ใช้ที่สองแล้วก็จะมีการลดรายการวัตถุประสงค์ทั่วไปลงปล่อยให้เหลือไว้เฉพาะจุดประสงค์ที่มีความสำคัญที่สุดและมีความเป็นไปได้มากที่สุด  หลังจากนั้นต้องระมัดระวังในการที่จะกล่าวจุดประสงค์ออกมาในรูปของจุดประสงค์พฤติกรรม  ซึ่งจะกลายมาเป็นจุดประสงค์ของการเรียนการสอนในชั้นเรียนไทเลอร์ไม่ได้ใช้ ไดอาแกรมในการพัฒนากระบวนการที่ได้เสนอแนะไว้  อย่างไรก็ตามโพแฟมและเบเกอร์ (Popham and Baker) ได้อธิบายแบบจำลองของไทเลอร์
         มีเหตุผลหลายประการที่รออภิปรายเกี่ยวกับแบบจำลองไทเลอร์มักจะหยุดอยู่ที่การตรวจสอบส่วนแรกของแบบจำลอง-เหตุผลในการเลือกจุดประสงค์ทางการศึกษาโดยความเป็นจริงแล้วแบบจำลองไทเลอร์ยังมีขั้นตอนที่พรรณนาออกไปอีกสามขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร คือการเลือก การจัด และการประเมินประสบการณ์การเรียนรู้โดยที่ไทเลอร์ได้นิยามประสบการณ์การเรียนรู้ว่าเป็น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและเงื่อนไขภายนอกในสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนสามารถสนองตอบได้ ไทเลอร์ได้แนะนำครูให้สนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่ง 1. จะพัฒนาทักษะในการคิด 2. จะช่วยให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูลตามที่ต้องการ 3. จะช่วยในการพัฒนาเจตคติทางด้านสังคมและ 4. จะช่วยพัฒนาความสนใจ
         ไทเลอร์ได้อธิบายถึงการจัดประสบการณ์ให้เป็นหลายๆ หน่วย และพรรณนาวิธีการประเมินผลต่างๆ อย่างหลากหลาย และแม้ว่าไทเลอร์จะไม่ได้บอกถึงทิศทางของประสบการณ์การเรียนรู้ (หรือการใช้วิธีการเรียนรู้การสอน) แต่เราก็สามารถอ้างได้ว่าการเรียนการสอนต้องเกิดขึ้นในระหว่างการเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากประสบการณ์เหล่านี้
         แบบจำลองที่ขยายแล้ว (Expanded model) อย่างไรก็ตามเราสามารถปรับปรุงไดอาแกรมแบบจำลองของไทเลอร์โดยขยายออกไปให้ครอบคลุม ขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการวางแผนหลังจากที่ได้กำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนเฉพาะแล้ว นั่นคือเพิ่มขั้นตอนของการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทิศทางของประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินประสบการณ์การเรียนรู้เข้าไปดังภาพประกอบ 15 แบบจำลองที่ขยายแล้ว
         ในการอภิปรายเกี่ยวกับเหตุผลของไทเลอร์ และแทนเนอร์ (Tanne and tanner) ชี้ว่า  องค์ประกอบหลักในเหตุผลของไทเลอร์มาจากการศึกษาพิพัฒนาการนิยมในระหว่างต้นทศวรรษของศรวรรษที่ 21 สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ยากในเหตุผลของไทเลอร์ตามทัศนะของแทนเนอร์ทั้งสอง คือ ไทเลอร์นำเสนอแหล่งข้อมูลทั้งสามโดยแยกออกจากกันไม่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้านักวางแผนหลักสูตรพิจารณาว่าส่วนประกอบทั้งสามต้องแยกออกจากกัน และไม่เข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของแหล่งทั้งสามการพัฒนาหลักสูตรก็จะกลายเป็นกระบวนการที่เน้นเชิงกลไกมากจนเกินอย่างไรก็ตามแทนเนอร์ทั้งสองได้บันทึกไว้ว่าจนถึงวันนี้ แบบของไทเลอร์ได้รับการอภิปลายอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการหลักสูตรและเป็นจุดศูนย์รวม (focus) ในสาขาของทฤษฎีหลักสูตรด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น